วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

“Nanoparticles Used in Common Household Items Cause Genetic

“Nanoparticles Used in Common Household Items Cause Genetic
Damage in Mice”


Prof. Robert Schiestl จาก Jonsson Cancer Center, UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลงานวิจัย ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีอนุภาคขนาดเล็กหรืออนุภาคขนาดนาโน ทำให้สารพันธุกรรมในหนูทดลองเกิดความเสียหายซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งขึ้นได้

ผลการศึกษาถูกตีพิมพ์ในวารสารชื่อ Cancer Research ไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide (TiO2)) เป็นสารสีที่มีสีขาวมีประโยชน์สำหรับการใช้งานได้หลากหลายเนื่องจากไม่มีกลิ่นและมีความสามารถในการดูดซับ แร่ชนิดนี้พบได้ในหลาย ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สีทาบ้าน วิตามินเสริม และเครื่องสำอาง ในกลุ่มเครื่องสำอางใช้เพื่อหลายวัตถุประสงค์

โดยส่วนมากไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารสีที่มีสีขาวเป็นตัวที่ทำให้เกิดการทึบแสง โดยส่วนมากจึงถูกนำมาใช้ในการผลิตป้องกันแสงแดด

ไทเทเนียมไดออกไซด์ มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารเฉื่อยและถูกรายงานว่าเป็นสารสีที่ไม่มีพิษ (non-toxic) แต่เมื่อถูกทำให้มีอนุภาคที่เล็กลง หรือที่เรียกว่า นาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide (TiO2) nanoparticles) พบว่า มีความเป็นพิษต่อร่างกายและยิ่งขนาดอนุภาคเล็กมากเท่าใดความเป็นพิษก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า หนูที่ดื่มน้ำที่มีไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ถูกทำให้มีอนุภาคขนาดเล็กหรืออนุภาคขนาดนาโน จะเริ่มมีความเสียหายเกิดขึ้นที่สารพันธุกรรมในวันที่ห้าของการดื่มน้ำ เนื่องด้วยนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์มีขนาดเล็กมากจึงสามารถเข้าสู่เซลล์ได้โดยง่ายและถูกสะสมไว้ที่อวัยวะต่างๆ โดยที่ร่างกายไม่สามารถขจัดออกได้และไปมีผลรบกวนกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ในอนาคต

ในปัจจุบันได้มีการนำเอานาโนไทเทเนียมไดออกไซด์มาใช้ใน อุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สีผสมอาหาร ยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง ครีมกันแดด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก แต่มีการใช้กันมากในการผลิตสารกันแดดและเครื่องสำอางที่ให้สีSchiestl กล่าวว่า “การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์อาจก่อให้เกิดอาการแพ้มากกว่าการใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากไทเทเนียมไดออกไซด์ในสภาพปกติ”

จากผลการศึกษาในครั้งนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในอนาคต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารประเภทนี้จะยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น


ที่มา: http://www.sciencedaily.com/releases/2009/11/091116165739.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น