วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

การนวด

การนวด
การนวด ดัด ดึง ในวัฒนธรรมต่างๆ

การนวดคืออะไร
การนวด เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์เรารู้จักนำมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการนวดยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอื่นบางโรคได้ เป็นการรักษาร่วม ตลอดจนการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ Hippocrates ผู้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่ยังเห็นความสำคัญและกล่าวไว้ว่าแพทย์ทุกคนควรมีความรู้เรื่องการนวด การแพทย์ที่ผ่านมาเรายึดถือตะวันตกเป็นแม่แบบ ปัจจุบันกระแสนิยมไทยกำลังได้รับการส่งเสริม การนวดแผนไทยหรือนวดไทยแผนโบราณจึงได้รับการฟื้นฟูจนกลับมาเป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและต่างชาติ และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในสปา ซึ่งสปาที่มีชื่อเสียงมักจะต้องมีบริการนวดอยู่ด้วยไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง และหนึ่งในนั้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเป็นนวดแผนไทย Graham ค.ศ.1884 ได้ให้คำจำกัดความของการนวด (massage) ว่าหมายถึงกระบวนการต่างๆที่กระทำโดยมือ เช่น friction, kneading, rolling, and percussion บนเนื้อเยื่อด้านนอกของร่างกายด้วยวิธีการต่างๆกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา ประคับประคอง หรือสุขอนามัย การนวดอาจมีความหมายว่า “การใช้มืออย่างมีสติและสัมปชัญญะ เพื่อกระทำบนร่างกายโดยมีวัตถุประสงค์ในการบำบัด” ในปี 1990 การนวดได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับ 3 ในอเมริการองจากเทคนิคการผ่อนคลาย และไคโรแพรคเตอร์ สำหรับในประเทศไทยแม้จะยังไม่มีการเก็บข้อมูล แต่จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของผู้เขียน ประมาณว่ามากกว่า 60% ของผู้ป่วยจะต้องได้รับบริการการนวดมาแล้วไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

ความหมายของการนวด
ลูซินด้า ลิเดล (Lucinda Lidell. 1995 : 12) ได้ให้ความหมายของการนวดว่า หมายถึงการแบ่งปันระหว่างการสัมผัส คือ มือ ร่างกาย ศีรษะ มือ หรือเท้า

ประเวศ วสี (2531 : 15) ได้กล่าวว่า "การนวด (massage) หมายถึง การใช้นิ้วมือทำการบีบนวดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบำบัด ลดอาการเจ็บปวด ลดอาการบวม ซึ่งเกิดการเกร็งตัวของเอ็นกล้ามเนื้อหรือการคั่งของของเสียในเนื้อเยื่อ การคั่งของโลหิตใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยลดหรือแก้ไขอาการติดขัด ช่วยให้การติดขัดสามารถเคลื่อนไหวได้ ช่วยให้ผิวหนังเกิดความรับรู้ มีความรู้สึกดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อถ่ายเทของเสีย ทำให้การไหลเวียนของโลหิต น้ำเหลืองดีขึ้น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงรูปร่าง, รูปทรงที่ผิดปกติ และช่วยปรับปรุงระบบหายใจให้คล่องตัวขึ้น"

สรุปความหมายของการนวด
การนวดเพื่อสุขภาพ คือ ศิลปะในการรักษาที่ใช้สัญชาตญาณโดยใช้ปลายนิ้วมือ การกดลึก ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง ทำลายการแข็งตัวที่เกิดขึ้นในเส้นใยของกล้ามเนื้อ ช่วยลดและระงับความเจ็บปวดได้ โดยการนวด สามารถผ่านลงไปลึกจากผิวหนังถึงกล้ามเนื้อ หรืออาจจะถึงกระดูก และการนวดที่ดี ที่ประณีต จะกดลึกลงไปจนถึงจุดที่ถูกต้อง ซึ่งการนวดนี้เรียกกันว่า "การนวดแบบโอลิสติก" (oristic) หรือ "การนวดโดยสัญชาตญาณ" แต่จะเรียกกันให้ง่ายว่า "นวดเพื่อสุขภาพ"

การนวดเพื่อสุขภาพ ใช้รักษาคนไข้แต่ละคนในลักษณะโดยรวมมากกว่าที่จะเพ่งเล็งไปยังร่างกายแห่งใดแห่งหนึ่ง การเคลื่อนไหวในการนวดมักเชื่องช้ากว่า และใช้สมาธิมากกว่า สำหรับการนวดเพื่อสุขภาพ ทัศนคติและการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับมีความสำคัญสูงสุดต่อการรักษา"ผู้รับ" จะต้องผ่อนคลาย แต่ต้องตื่นตัวเพ่งอยู่ที่สัมผัสที่ได้รับ"ผู้ให้" หรือ "ผู้นวด"ก็จะต้องเพ่งและมีทัศนคติที่ดีในการรักษาด้วยการนวดอย่างสูงสุดเช่นกัน ส่วนผู้รับจะต้องรู้สึกเหมือนกับว่าการกดนวดเป็นการกระทำต่อเนื่องกันอย่างลื่นไหลและเป็นจังหวะไปโดยตลอดขณะทำการนวดให้คอยถามผลการนวดว่ารู้สึกดีหรือไม่ แต่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการสื่อสารด้วยวาจา เนื่องจากการพูดจะดึงสมาธิออกจากมือ การกดยิ่งช้าและเป็นจังหวะมากเท่าใด ก็จะทำผู้ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น

ผลดีของการนวด
ทางร่างกาย การนวดทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายหายตึง ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น เพิ่มระดับฮีโมโกลบิน การไหลเวียนของน้ำเหลืองสะดวกขึ้น และช่วยยึดข้อต่อกระดูก

ทางจิตใจ นอกจากการนวดจะช่วยลดความเครียดและความกระวนกระวายแล้ว ยังช่วยเพิ่มสติสัมปชัญญะให้อีกด้วย โดยเฉพาะตามส่วนของร่างกายที่เคยมีความรู้สึกว่า "ขาดตอน" เมื่อท่านทราบว่ามีการขาดตอนอยู่ที่ใดแล้ว ท่านก็สามารถที่จะปรับปรุงร่างกายให้ดีขึ้น และสามารถสร้างภาพลักษณ์ของตนเพื่อลบล้างจุดอ่อนนั้นได้ มีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อความสุขและสุขภาพของตนเองการนวดทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นและเกิดความสำราญ การนวดสามารถช่วยให้มีการระบายพลังที่เสียเพราะความเครียดออกไป และเปลี่ยนนิสัยอันเป็นกิริยาและปฏิกิริยาซึ่งเป็นนิสัยเรื้อรังได้การนวดก่อให้เกิดผลดีต่อกิริยาท่าทางและการแสดงสีหน้า ในการนวด อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อสภาวะจิต เป็นการยากที่จะบรรยายถึงผลที่ได้จากการนวด เพราะเป็นการพูดถึงสิ่งที่อยู่ภายใน คือ "พลังชีวิต" โดยรวมส่วน แทนที่จะกล่าวอย่างแยกส่วนสำหรับการนวดเพื่อสุขภาพ สิ่งที่ทั้งผู้ให้และผู้รับจะได้ก็คือ "สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน" คือการทำให้เกิดความชำนาญในการเจริญสมาธินั่นเอง

ชวลิต ทัศนสว่าง (2530 : 15) ได้กล่าวไว้ว่า หลังจากออกกำลังแล้ว คนส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะต้องประสบกับการเจ็บทั่ว ๆ ไป หรือเฉพาะบางแห่ง กล้ามเนื้อที่เจ็บอาจมีอาการบวมขึ้น บางทีมีความรู้สึกเหมือนกล้ามเนื้อขมวดปม ซึ่งเรียกว่าการหดเกร็ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นใยของกล้ามเนื้อที่เมื่อยล้าพันกันยุ่งเหยิงและหดตัวอีกด้วยการเกิดเยื่อใยเหนียวหรือแข็งตัว เกิดขึ้นที่ปลายของกล้ามเนื้อ ซึ่งเส้นใยของกล้ามเนื้อไม่ค่อยได้ถูกใช้งานมากนักเพราะฉะนั้นจึงมีความยืดหดตัวได้น้อย เมื่อกล้ามเนื้อพักตัวอยู่จะไม่อยู่เป็นรูปร่างที่ดี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการเมื่อยล้า เมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อไม่มี ไกลโคลเจน และประกอบกับมีการสะสมสารเคมีที่เกิดจากการออกกำลังกายทำให้ไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้อาจเกิดจากเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาดเนื่องจากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับการรักษาบำรุงตามที่ต้องการในบางครั้งเส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้จะป้องกันตัวเองโดยการบิดไปรอบๆซึ่งกันและกันคล้ายกับหนังยางที่พันกัน การแข็งตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อจะดึงรั้งเส้นใยของกล้ามเนื้อ จนกระทั่งหดตัวสั้นอย่างรุนแรง นั่นคือทำให้มีการดึงและมีการฉีกขาดเกิดขึ้นการนวดคลายซึ่งทำเป็นประจำจะช่วยดึงขมวดปมของกล้ามเนื้อให้ออกไปได้บ้าง แต่ไม่สามารถเปรียบได้กับพลังการนวดในการแผ่กระจาย และบรรเทากล้ามเนื้อที่เมื่อยล้า การนวดลึก ๆ โดยการบีบ จะช่วยแยกเส้นใยของกล้ามเนื้อออกจากกัน

การนวดมีแนวคิดอย่างไร
การนวดเป็นศิลปะการรักษาที่ใช้สัญชาติญาณ โดยใช้ปลายนิ้วมือเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนมาแล้ว ที่การนวดและเทคนิคต่าง ๆ ได้นำมาใช้สร้างความสุข และให้ผลบางอย่างในการรักษา ในการที่จะให้ประสบผลสำเร็จทางอายุรเวทย์ จะต้องมีวิธีการนวดโดยเฉพาะ และเป็นไปตามลำดับ

การนวดเริ่มต้นด้วยการสัมผัส ไม่ว่าการนวดนั้นจะใช้เวลา 15 หรือ 60 นาที การสัมผัสทำให้ช้าลงและสามารถกำหนดจังหวะของการนวดได้ จากนั้นจึงใช้การกดซึ่งผ่อนคลาย ไม่เพียงแต่บริเวณที่กำลังนวดอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการผ่อนคลายร่างกายทั้งหมดด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นการนวดโดยการกดลึกและการบีบนวด เพื่อปลดปล่อยความเครียดที่อยู่ในกล้ามเนื้อ การบีบนวด เป็นการเปิดกล้ามเนื้อแล้วจึงใช้การนวดที่ใช้แรงขัดสีเพื่อผ่อนคลายความเครียดที่ลึกลงไปอีก การเตรียมร่างกายด้วยวิธีนี้ เป็นสิ่งที่ได้เปรียบ เนื่องจากหากอบอุ่นกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเมื่อนวดถู ท้ายสุดให้จบการนวดด้วยการกดและจับร่างกายไว้ เช่นเดียวกับที่เราเริ่มต้นในครั้งแรก การนวดตามขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่ใช้สามัญสำนึกเท่านั้น แต่ยังเป็นการนวดเพื่อสุขภาพและการนวดเพื่อการรักษาด้วย ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของวิวัฒนาการของมนุษย์จะเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะใช้การสัมผัส การบีบ การนวด เมื่อเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อหรืออาการไม่สบายตัว โดยสมัยเริ่มแรกนั้น เมื่อเจ็บปวดตรงไหนก็จะบีบนวด คลึงบริเวณที่เจ็บปวด โดยไม่มีการสอน เป็นการเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ ต่อมามนุษย์ได้เริ่มจดจำ และจัดระบบการสัมผัสขึ้นและเรียนรู้ถึงการกดลูบอย่างไรให้รู้สึกสบายขึ้น จนกลายเป็นการนวดที่เป็นแบบแผนแน่นอน


ความเป็นมาของการนวดเพื่อสุขภาพ
สมบัติ ตาปัญญา (2538 : 17) ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่า การนวดอย่างมีแบบแผนเริ่มมีบันทึกไว้ตั้งแต่ราว 5,000 ปีมาแล้วในตำราวิชาแพทย์จีนในแผ่นดินจักรพรรดิฮ่วงตี้ และคัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย ซึ่งมีอายุประมาณ 3,800 ปี ก็ได้กล่าวถึงการนวดไว้ว่า เป็นการ "ช่วยให้ร่างกายรักษาตนเอง" โดยใช้น้ำมันทาถูไปตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ ฮิปโปเครติส ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิชาแพทย์" ของโลกตะวันตก ได้กล่าวถึงการนวดไว้ว่า "แพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญในหลายสิ่ง แต่ที่แน่นอนอย่างยิ่งคือต้องมีความเชี่ยวชาญในการนวดด้วย" ในเอกสารทางการแพทย์ของอียิปต์ เปอร์เซีย และญี่ปุ่น ก็ได้มีการกล่าวถึงคุณประโยชน์ของการนวดในการรักษาโรคต่าง ๆ ไว้มากมายเช่นเดียวกัน

การนวดบางวิธี หรือการวางมือเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บป่วย เป็นวิธีการที่กระทำกันมานับเป็นพัน ๆ ปีแล้ว แพทย์กรีกและโรมันในสมัยโบราณใช้การนวดเป็นหลักใน การบำบัดและบรรเทาอาการปวด เมื่อต้นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) "บิดาแห่งการแพทย์" เขียนไว้ว่า "แพทย์ต้องชำนาญในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการถูนวด เพราะว่าการถูนวดสามารถเชื่อมข้อที่หลวมให้แน่นขึ้นได้ ข้อที่ หลวมทำให้เกิดการแข็งเกร็งมากเกินการณ์"

ไพลนี (Plyny) นักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน นวดตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อบรรเทาอาการหอบหืด
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar.) ผู้เป็นโรคลมบ้าหมู ต้องนวดตัวเองไปทั่วทั้งตัวทุก ๆ วัน เพื่อบรรเทาการวูบหรือชักจากโรคลมบ้าหมู และเพื่อบรรเทาอาการปวดประสาท หรือปวดศีรษะ (พิสิฐ วงศ์วัฒนะ. 2539 : 11)
เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงไป คริสต์ศตวรรษที่ 5 ความก้าวหน้าในวงการแพทย์ทางยุโรปเป็นไปน้อยมาก แต่พวกอาหรับกลับเจริญกว่าอะวิ เซนนา (Avisenna) นักปรัชญาและแพทย์ชาวอาหรับ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 บันทึกไว้ใน "บัญญัติ" ของตนว่า วัตถุประสงค์ของการนวด คือ "เพื่อขจัดของเก่าที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่สามารถขจัดไปได้โดยการออกกำลังกาย"ในยุโรป (ช่วงยุคกลาง) การนวดได้เสื่อมความนิยมลงไป เนื่องด้วยผู้คนหันไปนิยมสิ่งปรุงแต่งกันมากกว่า แต่การนวดก็กลับพื้นคืนชีพขึ้นมาได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนใหญ่ฟื้นฟูโดยแพทย์ชาวฝรั่งเศสจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แพร์ เฮนริก ลิง (Parr Henrik Ling) ชาวสวีเดน ได้พัฒนาการนวดแบบสวีดิชขึ้น โดยรวบรวมระบบที่ได้จากความรู้ในเรื่องยิมนาสติกสรีรวิทยาและจากเทคนิคของจีน อียิปต์ กรีก และโรมัน (พิสิฐ วงศ์วัฒนะ. 2539 : 12)
ในปี พ.ศ. 2356 วิทยาลัยแห่งหนึ่งในสต๊อกโฮล์ม ได้บรรจุวิชาการนวดไว้ในหลักสูตรและจากนั้นสถาบันอื่น ๆ รวมทั้งเมืองตากอากาศทั้งหลายที่มีบ่อน้ำแร่ทั่วทั้งยุโรปก็ได้นำเอาการนวดเข้าไปประกอบในกิจการทุกวันนี้คุณค่าของการบำบัดรักษาด้วยการนวดได้กลับมาเป็นที่ยอมรับกันอีกครั้ง และกำลังเป็นที่เฟื่องฟูและพัฒนากันไปทั่วโลก ทางด้านตะวันตกมีทั้งบรรดามือสมัครเล่นและมืออาชีพ ส่วนทางตะวันออก กรรมวิธีการนวดเป็นที่ยอมรับกันมากกว่าทางด้านตะวันตก วิชาการดังกล่าวได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการขาดตอนความแตกต่างระหว่างตะวันออกกับตะวันตกนี้ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิรูปทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดทางด้านตะวันตกเมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้วมาผลของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ดังกล่าว ทำให้ความเชื่อเก่า ๆ ที่เกี่ยวเนื่องระหว่างกายกับใจและจิตถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และในช่วงนั้นเองก็เกิดความยึดติดขึ้นใหม่ว่า ร่างกายมนุษย์เป็นแต่เพียงเครื่องจักกลอันสลับซับซ้อนเท่านั้น สามารถตรวจสอบและซ่อมบำรุงได้ก็แต่เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างสูง และผู้ที่มีความสามารถโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งก็คือ "แพทย์"ทางด้านตะวันออกไม่ได้มีสำนึกที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์" บังเกิดขึ้น สำนึกดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้เอง ผู้คนในประเทศที่ยากจนเหล่านั้นจึงยังดำเนินการต่อมา โดยรวมเอาความปรารถนาซึ่งเกิดขึ้นได้จากสัญชาตญาณว่า "นวดดีกว่า" อาศัยความชำนาญที่ได้กลั่นกรองมาแล้วและได้พิสูจน์มาแล้วว่าได้ผล และให้เป็นหน้าที่ของ "หมอเท้าเปล่า" เป็น ผู้รับผิดชอบไปในฐานะมีความรู้ทางทฤษฎีการแพทย์ตะวันออก มีความรู้ในวิชาหมอกลางบ้าน และเทคนิคการใช้มือ นอกจากนี้ยังมีวิธีนวดแบบ "ชิอัตซุ" (Shiatsu) มีรากฐานมาจากรูปแบบการนวดดังกล่าว เป็นการนวดแบบญี่ปุ่น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย อิทธิพลของทฤษฎีการฝังเข็ม และด้วยอิทธิพลของการรักษาทางวิทยาศาสตร์ตะวันตก คือ การรักษาโรคด้วยวิธีนวดกระดูก การรักษาโรคมือและเท้า ซึ่งเพิ่งเข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่น


รูปแบบของการนวด
1. นวดแผนไทย
นวดแผนไทย เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการ ประกอบกับบรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติของสถานที่ ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบการนวดได้เป็น

2. นวดผ่อนคลาย
การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบฉบับของแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย และจิตใจ คือตั้งแต่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ตึงล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย

3. นวดจับเส้น
การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา

4. นวดน้ำมัน
การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ พร้อมกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว

5. นวดฝ่าเท้า/นวดเท้า
การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

6. นวดสปอร์ท
การนวดคลายกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเนื่องจากการออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้าตามกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดตระคริว

ที่มา ;
http://203.172.163.147/stu/23246/2.html
http://www.superbk3.net/jarin/menu_b4.html
http://th.88dbmedia1.jobsdb.com
http://content.mthai.com/upload_images/beauty/DSC_0882.jpg
http://www.vibhavadi.com/backend/deptimages/dept43img1.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น