วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

เนคเทคทำ "กล้องจิ๋วอัจฉริยะ" ใช้แสงช่วยวินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มต้น


กล้องอัจฉริยะตรวจวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้นแบบมือถือ


กล้องวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้น ช่วยฉายให้เห็นภาพเซลล์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ภายในร่างกาย ณ ขณะที่ส่องกล้อง ทำให้แพทย์วินิจฉัยได้จากลักษณะของเซลล์ที่เห็น (ภาพจาก ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา)

เนคเทคทำ "กล้องจิ๋วอัจฉริยะ" ใช้แสงช่วยวินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มต้น

ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่กว่าจะถึงแพทย์วินิจฉัย ก็มักเป็นในระยะเกือบสุดท้าย อาจรักษาไม่ทันการณ์ ล่าสุดนักวิจัยเนคเทคร่วมกับสหรัฐฯ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่เอี่ยม "กล้องตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น" วินิจฉัยได้แม้แต่ระยะที่เซลล์มะเร็งเพิ่มเริ่มก่อตัวเป็นเนื้อร้าย ในสหรัฐฯ กำลังทดสอบระดับคลินิก ส่วนไทยกำลังพัฒนาเครื่องมือต้นแบบ คาดเสร็จปลายปีนี้

ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา นักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังทำโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องตรวจจับภาพทางแสง (Endoscope) หรือเทคโนโลยีกล้องอัจฉริยะทางการแพทย์ เพื่อส่องตรวจและถ่ายภาพในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้น เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระดับคลินิกในสหรัฐฯ และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จะมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งาน

ดร.วิบูลย์ เคยมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวมาแล้วในสหรัฐฯ เมื่อครั้งทำวิจัยหลังปริญญาเอก อยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Standford University) เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างทดสอบระดับคลินิกในสหรัฐฯ และเขาได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากส่วนนั้นกลับมาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างต้นแบบกล้องตรวจวินิจฉัยมะเร็งระยะเริ่มต้นตัวแรกของประเทศไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 17 ล้านบาท เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2555

ส่วนประกอบหลักของกล้องวินิจฉัยมะเร็ง ประกอบด้วยเมมส์สแกนเนอร์ (MEMS Scanner) และเลนส์ขนาดเล็ก 2 เลนส์ โดยใช้แสงอินฟาเรดใกล้ (near infrared) ที่ความยาวคลื่น 785 นาโนเมตร ในการจับภาพ ซึ่งไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อคนไข้ในขณะทำการวินิจฉัย

แพทย์สามารถนำกล้องวินิจฉัย ไปแตะบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณที่สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรืออาจเป็นเซลล์มะเร็ง โดยเครื่องมือจะบันทึกภาพ และประมวลผลภายในเวลารวดเร็ว และทำให้เห็นภาพความเคลื่อนไหวภายในเซลล์ขณะนั้นได้ทันที

"กล้องวินิจฉัยมะเร็งในระยะเริ่มต้น ใช้เทคโนโลยีทางด้านแสง ไมโครและนาโนเทคโนโลยี มารวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อช่วยให้เราสามารถส่องเห็นภาพเซลล์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย ณ เวลาขณะนั้น โดยมีกำลังขยาย 1,000-2,000 เท่า และส่องเห็นภาพได้ลึกจากพื้นผิวเนื้อเยื่อประมาณ 500-600 ไมโครเมตร แพทย์จึงสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องตัดเอาตรวจอย่างชิ้นเนื้อออกมาตรวจภายนอกร่างกายซึ่งจะต้องใช้เวลาตรวจวิเคราะห์หลายวัน โดยเทคนิคนี้มีความไวและความแม่นยำสูง" ดร.วิบูลย์ อธิบาย

ทั้งนี้ กล้องอัจฉริยะนี้สามารถวินิจฉัยได้กับมะเร็งที่เกิดอยู่ในพื้นผิวชั้นบน (Epithelial Cancers) เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งสมอง และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 85% เป็นมะเร็งในประเภทนี้ และ 80% มักเสียชีวิต

นักวิจัยยกตัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่แพทย์มักวินิจฉัยพบในระยะที่ 3 หรือระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายแล้ว แต่กล้องตรวจจับภาพทางแสงนี้ สามารถวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มมีติ่งเนื้องอกออกมาจากผนังลำไส้ใหญ่ หรือตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นระยะแรกที่ยังไม่มีติ่งเนื้องอกออกมา โดยพิจารณาจากรูปร่างลักษณะของเซลล์ของผนังลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างเซลล์ปกติและเซลล์ที่เริ่มจะกลายเป็นเนื้อร้าย แพทย์จึงวินิจฉัยได้ว่า บริเวณนั้นมีโอกาสพัฒนาไปมะเร็งหรือไม่ และสามารถรักษาได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งมากขึ้น

ดร.วิบูลย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่สื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า เทคนิคดังกล่าว ยังสามารถช่วยให้แพทย์รู้ขอบเขตของเนื้อร้ายด้วย เช่นในกรณีของมะเร็งสมองและมะเร็งบริเวณใบหน้า แตกต่างกับการวินิจฉัยด้วยเทคนิคเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่ฉายให้เห็นภาพบริเวณที่เป็นเนื้อร้ายได้ แต่บอกขอบเขตที่แน่ชัดไม่ได้

นอกจากนั้นยังสามารถใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้มะเร็งแบบเรืองแสง (fluorescence tumor marker) ที่มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งจะช่วยยืนยันความถูกต้องของการวินิจฉัยด้วยกล้องตรวจจับภาพทางแสง และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานวิจัยขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ เช่น งานวิจัยที่ต้องศึกษาในสัตว์ทดลอง เป็นต้น

นักวิจัยคาดว่า จะสามารถพัฒนาต้นแบบกล้องวินิจฉัยมะเร็งระยะเริ่มต้นรุ่นแรกได้ภายในปี 2553 ซึ่งเป็นกล้องแบบมือถือ มีเลนส์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร สำหรับใช้วินิจฉัยมะเร็งจากภายนอกร่างกาย จากนั้นจะดำเนินการทดสอบในระดับพรีคลินิกและระดับคลินิก โดยอาจจะร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่สนใจ

ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะใช้เวลาในการทดสอบประมาณ 4-5 ปี จึงจะสามารถเผยแพร่เทคโนโลยีสู่การใช้งานจริงได้หรือเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าในสหรัฐฯ และช่วยการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ได้ โดยขณะนี้กล้องวินิจฉัยมะเร็งแบบมือถือที่พัฒนาขึ้นมีต้นทุนประมาณ 1.5-2 ล้านบาท แต่ของสหรัฐฯ ประมาณ 8-10 ล้านบาท

หลังจากได้ต้นแบบกล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตรแล้ว นักวิจัยจะพัฒนารุ่นต่อๆ ไปที่มีขนาด 5 มิลลิเมตร และ 3 มิลลิเมตร สำหรับใช้ตรวจภายในร่างกายได้ รวมทั้งจะพัฒนากล้องให้สามารถใช้แสงได้หลายความยาวคลื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัย และพร้อมที่ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่สนใจจะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวร่วมด้วย

อย่างไรก็ดี จะมีการเปิดตัวเทคโนโลยีกล้องตรวจวินิจฉัยมะเร็งมะเร็งในระยะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2010) ระหว่างวันที่ 29-31 มี.ค. 53 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี.

ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000041222

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

แพทย์ทางเลือกแต่ละประเภท

แพทย์ทางเลือกคืออะไร

การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) คือ การรักษาพยาบาลอีกรูปแบบหนึ่ง แตกต่างไปจากการแพทย์แผนปัจจุบัน (Conventional Medicine) ซึ่งผู้ที่ให้การรักษา จะต้องสำเร็จการศึกษาวิชาชีพแพทย์ และได้รับใบประกอบโรคศิลปะ เป็นแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์เฉพาะทาง ส่วนแพทย์ทางเลือก เป็นวิทยาการผสมผสานให้ใกล้เคียงกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มิใช่การแพทย์ที่ให้การรักษาโดยใช้ยาแผนปัจจุบัน ผู้ให้การรักษา ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นผู้ที่ผ่านการอบรม และได้รับการฝึกฝนจนเป็นที่ชำนาญในแต่ละสาขา

ประเภทแพทย์ทางเลือก
1. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของ ธาตุ/สารชีวภาพในร่างกาย
1.1 สมุนไพรบำบัด(สมุนไพรชนิดต่างๆ)
สมุนไพรบำบัด(สมุนไพรชนิดต่างๆ)(3)
สมุนไพรบำบัด(สมุนไพรชนิดต่างๆ)(2)
สมุนไพรบำบัด (สมุนไพรชนิดต่างๆ)(1)
1.2 โภชนาบำบัด(สูตรอาหารต่างๆ)
1.2.1 แมคโครไบโอติคส์ ( Macrobiotics )
แมคโครไบโอติคส์ ( Macrobiotics )
1.2.2 อาหารชีวจิต
อาหารชีวจิต
1.2.3 อาหารเจ
อาหารเจ
1.2.4 อาหารมังสะวิรัติ
อาหารมังสวิรัติ
1.3 วิตามินบำบัด (Megavitamin)
วิตามินบำบัด (Megavitamin)
1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
1.5 การล้างพิษ (Detoxification)
การล้างพิษ (Detoxification)
1.6 สารชีวะภาพอื่นๆ
1.6.1 โฮมิโอพาที(Homeopathy)
โฮมิโอพาที(Homeopathy)
1.6.2 Bio-molecular therapy
Bio-molecular therapy
1.6.3 การขับสารพิษ(Chelation therapy)
การขับสารพิษ(Chelation therapy)

2. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของ โครงสร้างร่างกาย
2.1 การนวด
การนวด
2.2 ดุลยภาพบำบัดศาสตร์แห่งความสมดุล
ดุลยภาพบำบัดศาสตร์แห่งความสมดุล
2.3 โยคะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
โยคะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2.4 ชี่กง การฝึกหายใจบำบัดโรค
ชี่กง การฝึกหายใจบำบัดโรค
2.5 วารีบำบัด
วารีบำบัด

3. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของ พลังในร่างการย ความสัมพันธ์กาย - จิต
3.1 สมาธิบำบัด
สมาธิบำบัด
3.2 จินตภาพบำบัด
จินตภาพบำบัด
3.3 พลังกายทิพย์...พลังพิชิตโรค
พลังกายทิพย์...พลังพิชิตโรค
3.4 การฝังเข็ม..กดจุดลมปราณแห่งการรักษา
การฝังเข็ม..กดจุดลมปราณแห่งการรักษา
3.5 การกดจุด
การกดจุด (Acupressure)
3.6 ดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
3.7 สุคนธบำบัด (Aroma therapy)
สุคนธบำบัด (Aroma therapy)









ข้อมูลทั้งหมดจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/

สุคนธบำบัด (Aroma therapy)

สุคนธบำบัด (Aroma therapy)
กลิ่นมหัศจรรย์แห่งการบำบัด

สุคนธบำบัดคืออะไร

สุคนธบำบัด หรือ อะโรมาเทอราพี (aromatherapy) มาจากรากศัพท์ 2 คำ คือ aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย และ therapy ซึ่งหมายถึง การบำบัด ดังนั้น จึงหมายความถึง ศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชเพื่อส่งเสริมให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายให้ดีขึ้น และมีชื่อเป็นทางการคือ คันธบำบัด จัดได้ว่าเป็นศาสตร์เก่าแก่ของโลก เริ่มจากสมัยอิยิปเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการใช้ในจีนและอินเดีย เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว การใช้ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยต่อร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่มักจะทำโดยการสูดดมและการใช้ผ่านผิวหนัง ในกรณีการใช้ผ่านผิวหนังมักจะมีการเจือจางก่อนเสมอในน้ำมันพืช เช่น sweet almond oil, apricot kernel oil และ grapeseed oil เป็นต้น

สุคนธบำบัดมีความเป็นมาอย่างไร
สุคนธบำบัด หรือ AROMA THERAPY เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 6,000 ปี เริ่มต้นใช้ในอียิปต์ ชาวอียิปต์มักใช้การเผา ให้ได้มาซี่งกลิ่นหอมเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น กลิ่น FRANKINCENSE บูชาพระอาทิตย์ กลิ่น RA และ MYRRH บูชาพระจันทร์นอกจากนี้ชาวอียิปต์ยังใช้กลิ่นจากพืชธรรมชาติเพื่อความสดชื่น นิยมใช้กับน้ำมันนวดและผสมลงในอ่างแช่ ต่อมาชาวกรีกได้นำ AROMATIC OILS (น้ำมันหอมระเหย) เพื่อนำมาใช้บำบัดรักษา แพทย์กรีกผู้หนึ่งชื่อ PEDACIUS DIOSCORIDES ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์ไว้ เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และหลักการนี้ก็ยังใช้อยู่จนปัจจุบันนี้

ชาวโรมันได้รับความรู้ทางการแพทย์ด้วยการใช้กลิ่นบำบัดรักษามาจากชาวกรีกและได้พัฒนาหลักความรู้นี้ผสมผสานกับศาสตร์อื่น เช่น การนวดและการอาบและถือได้ว่าชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ทำการค้าเกี่ยวกับอโรมา-เธอราปี คือ ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์อโรมา จากอินเดียตะวันออกและจากอาราเบีย

ความรู้เกี่ยวกับอโรมาออยล์และน้ำมันหอมแพร่กระจาย และได้รับความนิยมมากขึ้นหลังสงครามครูเสด ระหว่างปี ค.ศ.980-1037 นายแพทย์ อวิเซนา ชาวอาหรับได้คิดวิธีกลั่นน้ำมันหอมระเหยขึ้นเป็นครั้งแรก และการกลั่นนี้ก็ยังเป็นวิธีการสกัด กลิ่นหอมง่ายอีกวิธีหนึ่งจนถึงทุกวันนี้

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า ในทวีปเอเชียชาวจีนรู้จักวีธีใช้พืชสมุนไพรและกลิ่นหอมมานานพอๆ กับชาวอียิปต์ ในหนังสือสมุนไพรเล่มหนึ่งของจีนมีการจดบันทึกไว้เมื่อ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนสามารถแยกสารหอมจากพืชธรรมชาติได้มากกว่า 300 ชนิด และเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ ชาวจีนก็ใช้การเผาไม้หอม เพื่อบูชาเทพเจ้า

ในสังคมไทยหากจะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงโปรดปรานเครื่องสุคนธรสแล้ว คงจะต้องกล่าวถึงพระนามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้เขียนถึงพระองค์ไว้ในปราสาทภูเขาทองว่า

“เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ
ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธรา
วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์”

การนำกลิ่นหอมมาใช้กับการนวดนั้นมีมาแต่โบราณ ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ จะเป็นที่รู้จักและใช้กันมานาน แต่การใช้อโรมา (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณก็ยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงคุณสมบัติ และสรรพคุณของสารหอมที่มาแต่ละชนิด ต่อมาจนกระทั่ง เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นี่เองที่ได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า AROMA THERAPY ขึ้นโดย RENE MAURICE GATTEFOSSE นักเคมีชาวฝรั่งเศส จากนั้นไม่นานชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ALBERT COUVERUR ได้จัดพิมพ์ตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยขึ้นจากแนวศึกษาของ GATEFOSSE นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ JEAN VALNET ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอม ระเหย และนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ MARGARET MAURY ได้พัฒนาการใช้น้ำหอมระเหยกับการนวด และจากค้นคว้าของทั้ง 2 คนนี้ ทำให้ MICHELINE ARCIER เชื่อวิธีการของ MAURY และ VELNET เข้าด้วยกันจนทำให้ AROMA THERARY เป็นที่นิยมไปทั่วโลก

ดนตรีบำบัด (Music Therapy)

ดนตรีบำบัด (Music Therapy)


ดนตรีคืออะไร
ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน "ดนตรี" หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็น ทำนองเพลง , เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง

อีกความหมายหนึ่งของ ดนตรี (Music) คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้

ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด
ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์, สติสัมปชัญญะ, จินตนาการ, การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา

ดนตรีบำบัดคืออะไร
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรี หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์

ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่
1. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย
2. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน
3. กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
4. ช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจ
5. เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร
6. ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน
7. ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ


ดนตรีมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
คนเราเมื่อได้ยินเสียงดนตรี สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่รับรู้ถึงจังหวะง่ายๆไม่ซับซ้อน ในขณะที่สมองซีกขวาจะรับรู้ถึงท่วงทำนอง ระดับเสียงสูงต่ำ หรือจังหวะที่ซับซ้อนมากขึ้นแล้วเก็บไว้เป็นความทรงจำเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนได้ในคราวต่อไป ดนตรีจะส่งผลต่อร่างกายและจิตใจดังนี้

1. ผลต่อร่างกาย : มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันและการไหลเวียนโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวf

2. ผลต่อจิตใจและอารมณ์ : ทำให้เกิดอารมณ์และจินตนาการร่วมกับเสียงดนตรี เช่น ผ่อนคลาย สดชื่น สนุกสนาน เพราะดนตรีช่วยกระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุข (Endorphin) จากสมองได้ นอกจากนี้เสียงดนตรียังช่วยพัฒนาการสื่อภาษาและทักษะในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ตลอดจนทำให้เกิดสมาธิ และการมองโลกในเชิงบวกอีกด้วย โดยดนตรีแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามองค์ประกอบของดนตรีขึ้นกับ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอัลไซเมอร์, ปัญหาการบาดเจ็บทางสมอง, ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ
สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
2. ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety / Stress Management)
3. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)
5. เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)
6. พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)
7. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
8. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)
9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)
10. ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ (Pain Management)
11. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)
12. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ (Therapeutic Alliance)
13. ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เสริมสร้างสุขภาวะทาง
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่นๆ

กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด
ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยจะเลือกเสียงเพลงให้เหมาะกับปัญหาในแต่ละราย ซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
1.1 ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์
1.2 ประเมินปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการบำบัด
1.3 ประเมินสุขภาวะ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด

2. วางแผนการบำบัดรักษา
2.1 ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ
2.2 รูปแบบผสมผสาน กระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียง จินตนาการตาม หรือลีลาประกอบ เป็นต้น
3. ดำเนินการบำบัดรักษา
3.1 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัด กับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
3.2 ทำดนตรีบำบัด ร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่น ๆ แบบบูรณาการ
4. ประเมินผลการบำบัดรักษา
- ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม
การใช้เสียงดนตรีก็ยังมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น การเลือกฟังดนตรีเพียงอย่างเดียว หรือเปิดดนตรีร่วมกับการสร้างจินตนาการ ใช้ดนตรีประกอบการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่กระตุ้นเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ใช้ดนตรีประกอบการวาดภาพ แกะสลัก งานศิลปะด้านต่างๆ หรือการให้แสดงความสามารถด้านดนตรีด้วยการเล่นดนตรี แบบเล่นเป็นวงหรือเล่นตามลำพัง การร้องคาราโอเกะ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปสู่เป้าหมายที่เหมือนกันคือเบี่ยงเบนความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความเจ็บปวด การหมกมุ่น ไปสู่กิจกรรมหรือจินตนาการใหม่ๆ ในทางที่สร้างสรรค์ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนเปลงจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการบำบัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจที่จะให้ดนตรีเข้ามาแต่งเต็มสีสันในชีวิตประจำวันแล้วล่ะก็ หลักง่ายๆ คือการเลือกดนตรีที่มีคุณสมบัติบำบัดอาการที่มีอยู่ในลักษณะตรงกันข้าม เช่น ขณะที่อยู่ในภาวะเครียด ตื่นเต้น อาการปวด ทำให้ต้องการสมาธิหรือลดอาการปวด ควรเป็นดนตรีที่มีจังหวะในลักษณะ Minor Mode, Tempo - merato คือความเร็วปานกลางในแนวเพลงคลาสสิก, ระดับเสียงต่ำปานกลาง ตัวอย่างดนตรีประเภทนี้ เช่น ดนตรีของ Kitaro, Enja, Kenny G หรืออาจจะเป็นเพลงที่ระบุว่า Healing Music, Music ForRelaxation, Soothing Music หรืออย่าง Green Music ที่เรารู้จักกันดีนั่นล่ะครับ แต่หากอยู่ในภาวะซึมเศร้า เฉี่อยชา ก็ควรเลือกดนตรีที่มีลักษณะเป็น Major Mode ดนตรีเร็ว ระดับเสียงสูง เพื่อกระตุ้นการหายใจ ระดับความดันและการไหลเวียนโลหิต เช่น เพลงในแนวร็อก ชะชะช่า รุมบ้า เพื่อให้เกิดความอยากลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น หากบำบัดง่ายๆ ด้วยตัวเองแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จอาจลองบำบัดกับนักดนตรีบำบัดโดยตรงก็ได้ครับ ซึ่งปัจจุบันก็มีด้วยกันหลายแห่ง

ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลต่าง ๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายต่าง ๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น
1. กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
2. ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
3. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับพฤติกรรมบำบัด และการบำบัดโดยใช้ยา
4. ช่วยให้สงบ และนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา
5. ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า
6. เสริมในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ ทางจิตเวช
7. ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด

ดนตรีบำบัดในโรงเรียน
ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย
2. เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ




ที่มา :
http://www.happyhomeclinic.com/a06-musictherapy.htm
(โดย นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา)

การกดจุด (Acupressure)

การกดจุด (Acupressure)

การกดจุดคืออะไร
การกดจุด คือ วิธีบรรเทารักษาอาการเจ็บป่วย ที่ชาวจีนปฏิบัติกันมาหลายพันปี โดยมีวิธีการที่ประกอบด้วย การนวดจุดบนร่างกาย โดยใช้นิ้วมือ ซึ่งนอกจากจะมีการนวดด้วยมือแล้ว ยังมีการใช้เข็มปักไปยังจุดต่าง หรือที่เรียกว่า การฝังเข็ม ความร้อน เป็นต้น

นอกจากกดจุดบนร่างกายแล้วยังมีการกดจุดและฝังเข็มบริเวณใบหูอีกด้วย
ชาวจีนค้นพบการกดจุดโดยใช้การนวดหรือแทงเข็มลงบนร่างกายเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ตั้งแต่นั้นมาก็มีการรักษาโรค ด้วยการนวดหรือเคาะตำแหน่งซึ่งเป็นจุดเฉพาะของร่างกาย โดยใช้เข็มหิน ได้มีการรวบรวมการกดจุดและพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในสมัยราชวงศ์จิ้น พ.ศ.243 ส่วนการกดจุดที่ใบหูนั้นค้นพบโดย ด.ร.พอล โนจิเออร์ส่วนซอร์มันแอล (แปลโดยนรมิตร ลิ่วธนมงคล) ได้ให้ความหมายของการกดจุดไว้ดังนี้

การกดจุด หมายถึง การใช้นิ้วมือกด ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Finger pressures คือ การกดสัมผัสด้วยนิ้วมือ ไม่ใช่การนวดถูซึ่งหมายถึงการใช้นิ้วมือทั้ง 5 รวมทั้งอุ้งมือฝ่ามือ ถูคลึงตามร่างกายและโดยทั่วไปการนวดมักต้องทายาหรือทาครีมนวดตัว ไม่เช่นนั้นก็อาจมีการเจ็บปวดจากการเสียดสีแต่การใช้นิ้วกดสัมผัสนั้นไม่ต้องทายาใดๆ

การกดจุดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะในการดูแลรักษาตัวเองตามวิธีธรรมชาติบำบัดเพียงใช้ปลายนิ้วและกดอย่างถูกต้อง ตามจุดต่างๆ สามารถรักษาเยียวยาอาการเจ็บป่วยไม่สบายและโรคต่างๆ ได้ การกดจุดนั้นเป็นศาสตร์ที่พัฒนามาจากเวชกรรมการฝังเข็มเรื่องของการ “กดจุด” นี้เป็นศาสตร์ที่การแพทย์แผนโบราณของจีนได้คิดค้นขึ้นและก็ให้ผลดีแท้จริงต่อร่างกายมนุษย์ จนแม้แต่การแพทย์แผนปัจจุบันทั่วโลกต่างก็ยอมรับ การกดจุดเป็นการกระตุ้นหรือฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายด้วยวิธีทางอย่างธรรมชาติ และสรรพคุณของการกดจุดสามารถระงับโรคต่างๆ ได้ดี จนร่างกายแข็งแรงและสุขภาพทางจิตใจก็แจ่มใสขึ้นไปด้วย การกดและกระตุ้นอย่างถูกต้อง ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้บรรดาเหล่าอวัยวะทุกส่วนทำงานกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่สะดุดติดขัดหรือเสื่อมสภาพไป

ช่วยเสริมความต้านทานโรคและสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เราอีกด้วย การกดจุดนั้นไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องอาศัยผู้มีคุณวุฒิทางการแพทย์มาช่วยบำบัดรักษา สามารถทำได้เองหรือให้คนในบ้านทำให้โดยต้องศึกษาวิธีการใช้นิ้วมือและจุดตำแหน่งที่ถูกต้องเท่านั้นเอง
ช่วยเสริมความต้านทานโรคและสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เราอีกด้วย การกดจุดนั้นไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องอาศัยผู้มีคุณวุฒิทางการแพทย์มาช่วยบำบัดรักษา สามารถทำได้เองหรือให้คนในบ้านทำให้โดยการกดจุดตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามีพลังงานไหลเวียนทั่วร่างกายมนุษย์ในลักษณะเฉพาะ และเมื่อไหร่ที่ร่างกายมนุษย์อยู่ภายใต้สภาวะเครียด การถ่ายเทพลังงานและอวัยวะต่างๆจะขาดความสมดุล เมื่อมีการกระตุ้นตามจุดต่างๆ ของร่างกาย (จุดตามหลักการแพทย์จีนโบราณ) ก็จะทำให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกติและสมดุล ถึงแม้ว่าการกดจุดจะดูแปลกสำหรับคนตะวันตกและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ 30 กว่าปีที่ผ่านมากลับมีการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับการกดจุดจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นว่าการกดจุดใช้ได้ผลจริงและมีความถูกต้องตามหลักการดูแลสุขภาพในเชิงวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาวิธีการใช้นิ้วมือและจุดตำแหน่งที่ถูกต้องเท่านั้นเอง



ที่มา :
http://members.tripod.com/rnpong/spot_history.htm
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=76 (กองการแพทย์ทางเลือก)
http://sp6-patch.blogspot.com/2008/03/3_28.html

การฝังเข็ม..กดจุดลมปราณแห่งการรักษา

การฝังเข็ม..กดจุดลมปราณแห่งการรักษา

ประเทศจีน มีประวัติศาสตร์ และอารยธรรมอันรุ่งเรืองยาวนานหลายพันปี การแพทย์แผนจีน และการฝังเข็มเป็นศาสตร์หนึ่งที่ได้สืบทอดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ชาวตะวันออก และประเทศในแถบตะวันตก กระทั่งองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ประกาศรับรองผลการรักษาโรค ด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ ปี 1979 ซึ่งการฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งตามหลักแพทย์จีนที่แพร่หลายและได้รับความนิยมในหลายประเทศในโลก

สำหรับ ประเทศไทย เองก็มีผลงานด้านการบำบัดรักษาด้วยเวชกรรมแผนจีน และฝังเข็มมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี แล้ว


การฝังเข็มมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีมานานไม่ต่ำกว่า 2000 ปี เพราะมีการบันทึกไว้ในคัมภีร์
หวังตี้เน่ยจิง ซึ่งเขียนเมื่อประมาณ 2000 ปี โดยเริ่มจากการที่ชาวจีนโบราณสังเกตว่า เมื่อบาดแผลจาก
การบาดเจ็บด้วยของทิ่มแทงหายทุเลาลง โรคประจำตัวบางอย่างหายไป และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีการใช้เข็มที่ทำจากหิน กระดูกสัตว์ เข็มไม้ไผ่ เข็มโลหะ เช่น เข็มทอง เข็มเงินในการรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้จะใช้เป็นเข็มเหล็กสแตนเลส

เนื่องจากการฝังเข็มเป็นวิชาการรักษาที่ทำได้สะดวกเพราะใช้เครื่องมือน้อย จึงเป็นที่นิยมจนเป็นการแพทย์ทางเลือกในประเทศต่างๆ องค์การอนามัยโลกจึงให้ความสนใจและจัดการประชุมฝังเข็มนานาชาติ รวมทั้งกำหนดรายชื่อโรคต่าง ๆ ที่อาจใช้การฝังเข็มเป็นการรักษา ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 57 โรค และมีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย และแนวทางการฝึกอบรมการฝังเข็ม

การฝังเข็มกับมุมมองทางวิทยาศาสตร์
การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มแทงผ่านไปยังบริเวณจุดฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย จุดฝังเข็มจะเป็นจุดที่มีอยู่บนแนวเส้นลมปราณและจุดนอกระบบที่สามารถรักษาอาการต่างๆ ได้ โดยทั่วไปจะเน้นจุดในระบบตามแนวเส้นลมปราณเพื่อปรับสภาพสมดุล เข็มที่ใช้จะเป็นเข็มขนาดเล็กมากและมีลักษณะตันคล้ายเข็มเย็บผ้าแต่เล็กและอ่อนกว่า โดยทั่วไปเข็มจะมีความยาวประมาณ 25 – 50 มิลลิเมตร แต่อาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่จะฝังเข็ม ผู้ป่วยอาจจะเจ็บเล็กน้อยหรือไม่เจ็บเลยโดยจะมีความรู้สึกเจ็บในช่วงที่เข็มผ่านผิวหนังเท่านั้น การฝังเข็มโดยทั่วไปจะคาเข็มไว้ในร่างกายประมาณ 15 – 20 นาที แต่ก็มีบางรายที่ถอนเข็มออกหลังจากการฝังเข็มทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการรักษา

มุมมองด้านวิทยาศาสตร์ ได้มีการศึกษาว่าการฝังเข็มให้ผลการรักษาอย่างไรโดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย พบว่าการฝังเข็มช่วยกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีในร่างกายที่มีฤทธิ์ระงับปวดและหรือลดการอักเสบ

วิวัฒนาการของการฝังเข็มในปัจจุบัน
ในอดีตการฝังเข็มจะจำกัดอยู่เฉพาะการฝังตามจุดฝังเข็มที่อยู่บนลำตัว และใช้เทคนิคการปั่นเข็มแบบต่างๆ ของแพทย์ผู้ให้การรักษา แต่ปัจจุบันจะมีการกระตุ้นไฟฟ้าที่เข็ม การใช้แสงเลเซอร์แทนการฝังเข็ม นอกจากนี้ยังมีการฝังเข็มเฉพาะส่วนของร่างกายซึ่งที่พบเห็นบ่อย คือ การฝังเข็มที่ใบหู ศีรษะ เป็นต้น โดยส่วนของร่างกายดังกล่าวจะมีแผนภูมิร่างกายและอวัยวะภายในอยู่ เช่น ที่ใบหูจะมีรูปลักษณะคนที่งอเข่าและสะโพกอยู่ โดยศีรษะจะอยู่ที่บริเวณติ่งหู

โรคและอาการที่สามารถรักษาบรรเทาโดยการฝังเข็ม
ในปัจจุบันมีโรคหรืออาการที่สามารถรักษาบรรเทาได้ด้วยการฝังเข็มและได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกทั้งหมด 57 โรคหรืออาการซึ่งผู้สนใจสามารถเปิดชมได้ที่ website www.thaiacupuncture.org ในที่นี้จะกล่าวถึงเป็นกลุ่มๆ คือ
1. กลุ่มอาการปวดชนิดต่าง ๆ เช่นปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็น ปวดข้อ ปวดในผู้ป่วยมะเร็ง
2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตใจ
3. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเดิน
4. กลุ่มโรคระบบหายใจ เช่น ภูมิแพ้จมูก หอบหืด
5. กลุ่มโรคหลอดเลือด
6. อื่น ๆ เช่น ลดความอ้วน

ข้อควรระวังในการฝังเข็ม
1. ความรู้ของผู้ให้การรักษา
2. ความสะอาด
3. ปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น เป็นลม ติดเชื้อ เป็นต้น และภาวะที่ควรระวังหรือห้ามฝังเข็ม ได้แก่ การตั้งครรภ์ การมีเลือดออกง่าย ภาวะที่ไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน มะเร็งและโรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด

ที่มา :
www.si.mahidol.ac.th/department/rehabilitation/home/sara1.htm - 26k -
http://www.piyavate.com/chinese-medical-center_th.php

พลังกายทิพย์...พลังพิชิตโรค

พลังกายทิพย์...พลังพิชิตโรค


ต้นกำเนิดพลังกายทิพย์
Cosmos คือ จักรวาล Cosmology คือ จักรวาลวิทยา วิชาที่กล่าวถึงพลังในจักรวาล (Cosmic energy) เชื่อว่า เป็นพลังที่ปรากฎในโลกมนุษย์ ได้จากดวงอาทิตย์แผ่รังสีไปกระทบดวงดาวต่างๆ ดวงดาวเหล่านี้มีแร่ธาตุที่แตกต่างกันจึงดูดซับและสะท้อนรังสีออกมามีสีแตกต่างกัน และ เป็นรังสีที่แผ่มากระทบมนุษย์บนโลก มนุษย์มีพลังจิตที่มีความสามารถในการดูดซับรังสีเหล่านี้มาสะสมไว้ใน “กายทิพย์ (Etheric body)” จึงเรียกว่า พลังกายทิพย์ และ มนุษย์สามารถถ่ายเทเผื่อแผ่พลังเหล่านี้ไปสู่ผู้อื่นได้

กายของมนุษย์ที่มองเห็นด้วยตาเนื้อ เรียกว่า กายเนื้อ สำหรับ กายทิพย์ คือ ส่วนที่มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่สามารถมองเห็นด้วยตาใน หรือ ตาที่สาม คือ การฝึกสมาธิ ในกายทิพย์ เชื่อว่า มีจักระ 7 แห่ง ซึ่งเป็นที่ดูดซับพลังและส่งพลังไปยังกายเนื้อให้ทำงานตามหน้าที่ กายทิพย์เป็นของ เทวดา มนุษย์ และ สัตว์เดรัจฉาน มีจักระเปิดทำงานตลอดเวลา กายเนื้อของมนุษย์ตายไปเหลือกายทิพย์เป็น เทวดา หรือ สัตว์เดรัจฉาน ขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคน สำหรับพระอรหันต์ปิดจักระหมดแล้วจึงไม่เกิดอีกต่อไป
Dr. Alex Gray เป็นจิตรกรผู้ที่ฝึกพลังกายทิพย์ มีหูทิพย์ตาทิพย์ ได้เขียนภาพ กายเนื้อ และ กายทิพย์ ของมนุษย์ไว้ กายเนื้อ เหมือนภาพกายวิภาคศาสตร์ กายทิพย์ลักษณะมีเส้นแสงเป็นสนามแม่เหล็ก มีจักระ 7 แห่ง จักระที่ 1 คล้ายดอกบัวบาน จักระที่ 1-6 โตไม่เกิน 3 นิ้ว แต่จักระที่ 7 โตเต็มศีรษะ ทุกจักระหมุนตามเข็มนาฬิกา ถ้าอารมณ์มีกิเลสตัณหา ทำให้จักระไม่สมดุล จักระเรียงอยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง ในแนวเดียวกัน มีบางคนเชื่อว่าไม่ได้เรียงเป็นแนวเดียวกัน มีการเหลื่อมเยื้องกันบ้าง

จักระในร่างกายมนุษย์
จักระที่ 1 สีแดง 4 เส้นแสง เป็นขั้วลบ (-) ชื่อ มูลลัดดา หรือ Kundalini หรือ Serpentine ตำแหน่ง อยู่ที่ฝีเย็บระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก เป็นพื้นฐานของพลังชีวิตและเป็นกลไกที่ทำให้ชีวิตอยู่ได้ ดูดซับพลังจากใจกลางโลกที่พุ่งขึ้นมา ได้แก่ น้ำพุร้อน ภูเขาไฟระเบิด ต้นไม้ที่เจริญเติบโตจากดินพุ่งขึ้นสู่อากาศ

จักระที่ 2 สีส้ม 6 เส้นแสง ชื่อ สวัสดิ์ธนา ตำแหน่ง อยู่ที่ ก้นกบปลายสุด ตรงกับ Gonads (ต่อมเพศ) ซึ่งสร้าง sex hormones อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบสืบพันธ์ และ ระบบขับถ่าย (ไต?) เป็นจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศ (ทั้งผู้ให้และผู้รับ) เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง ดูดซับพลังจากพระอาทิตย์ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินจะกระจายพลังจากจุดนี้ออกไป นอนแต่หัวค่ำ ก่อน 21 น. ตื่นตี 5 ทำให้ melatonin หลั่ง ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ทำให้ไม่เป็นโรคติดเชื้อ ถ้ากระตุ้นขึ้นบนไปจักระ 7 จะรุนแรงในทางสร้างสรรค์ มีความหวานหอม แต่ถ้ากระตุ้นลงล่างจะกระตุ้น sex ใจเร็วด่วนได้

จักระที่ 3 สีเหลือง10 เส้นแสง ชื่อ มณีปุระ ตำแหน่ง อยู่ที่ บั้นเอว ตรงกับ สะดือ ตรงกับ Adrenal gland (ต่อมหมวกไต) เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ดิบ ที่ไม่ได้ผ่านการซักฟอก ในขณะที่เราตกใจกลัว กล้ามเนื้อบริเวณสะดือ จะหดตัวลง จักระ 3 มีหน้าที่ผลิตเนื้อเยื่อกระดูกหนาขึ้น ผลิตเม็ดเลือดแดง ระบบการย่อยอาหาร (กลิ่น รส กระเพาะอาหาร ตับ) ระบบขับถ่าย (ไต) อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ ท้อง ตับ กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ ถ้าขาดพลังจักระ 3 ไม่มีแรง ถ้ากระตุ้นจักระ 3 จะรู้สึกหิว

จักระที่ 4 สีเขียว 12 เส้นแสง ชื่อ อนัตตา ตำแหน่ง อยู่ที่ ตรงกลางกระดูกสันหลังระดับที่ตรงกับหัวใจ ตรงกับ Thymus gland อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ หัวใจ และ ระบบหมุนเวียนโลหิต เป็นศูนย์รวมของความรักที่แท้จริงอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการพัฒนาจิตใจ ความเมตตากรุณา และ ความเสียสละ หลายต่อหลายวิธีของการปฏิบัติสมาธิของชาวตะวันออก เพื่อกระตุ้นจักระนี้ มีสีดอกไม้ใบหญ้า ถ้าขาดพลังจักระ 4 ทำให้ไขมันสูง Triglyceride สูง ก่อกรรม Rx. เมตตากรุณา ไม่หวังผลตอบแทน ลดความโลภ โกรธ หลง

จักระที่ 5 สีฟ้า 16 เส้นแสง ชื่อ วิสุทธิ์ ตำแหน่ง อยู่ที่ กระดูกต้นคอ ตรงกับ Thyroid gland อวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ปอด Rx. โรคระบบหายใจ ผิวหนัง หอบหืด เคราะห์กรรม ถูกกระทำย่ำยี สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ พูดเพราะ หูทิพย์ ฟังเทวดาได้ พิธีกรรม สวดมนต์ ดนตรีไทย (ฉิ่งฉาบกลอง มี alpha wave)

จักระที่ 6 สีไพลิน (สีน้ำเงิน) และ กุหลาบทอง 96 เส้นแสง ชื่อ อัจนา หรือ อัจฉริยะ ตำแหน่ง ตั้งอยู่ที่กึ่งกลางหน้าผาก ตรงกับ Pituitary gland (ต่อมใต้สมอง) อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ สมองส่วนล่าง และ ระบบประสาท เป็นที่รวมของปัญญา เป็นดวงตาที่สาม และ พาหนะแห่งญาณวิเศษ ติดต่อกับเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน Rx. ทำลายสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง, Parkinson, Alziemer syndrome คุณย่ามีภาพเด็กชาวรัสเซียมีตาที่สาม คือ พระอิศวร เด็กคนนี้สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

จักระที่ 7 สีม่วง 972 เส้นแสง เป็นขั้วบวก (+) มีเส้นแสงสีทอง 12 เส้นตรงกลาง และ สีม่วง 960 เส้น โดยรอบ รวมเป็น 972 เส้น เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระในกายทิพย์ เป็นสถานที่รับพลังคอสมิกและกระจายไปทั่วร่างกาย ตำราอินเดียเรียกชื่อว่า สหัชชะ หรือ สหัสรา แปลว่า หนึ่งพัน หรือ 1,000 เส้นแสง ตำแหน่ง อยู่ที่ กลางศีรษะด้านบน เปรียบเสมือนมงกุฎดอกบัว ตรงกับ Pineal gland อวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ สมองส่วนบน ระบบประสาท ระบบโครงสร้าง และ ระบบหมุนเวียน โดยทั่วไปของร่างกาย Rx. ระบบโครงสร้างและข้อต่อ เป็นจุดที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยที่จักระอื่นๆ ไม่สามารถจะรักษาได้โดยตรง

คุณสมบัติของพลังกายทิพย์
1. เป็น alpha wave มีความหนาแน่นมาก เป็นพลังขั้วลบ ไปพบกับพลังขั้วบวกในร่างกาย
2. มีจำนวนมากในตอนกลางวัน
3. มีความถี่มากกว่าแสงอาทิตย์ 10 เท่า เดินทางเร็วกว่าแสงอาทิตย์ 10 เท่า
4. มนุษย์สามารถดูดซับพลังกายทิพย์ได้โดยกำหนดจิตที่จักระ 7 กลางกระหม่อม
5. สะท้อนที่กระจกได้ ทำให้รู้สึกอุ่นขึ้น
6. เห็นเป็น aura สะท้อนออกจาก ปลายนิ้ว กลางอุ้งมือ และ ที่ตาที่สามกลางหน้าผาก Valentino Corion และ Densa Corion ชาวรัสเซีย เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ aura ได้ กล้องนี้มีอยู่ที่ องค์การนาซ่า และ ประเทศรัสเซีย เท่านั้น
7. นำไปได้ด้วยสายไฟ สายโทรศัพท์
8. เก็บไว้ได้ในสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ไม้ น้ำ ฯลฯ เช่น พลังพุทธคุณ ในน้ำมนต์วัดพระแก้ว
9. ความหนาแน่นขึ้นกับ ดินฟ้าอากาศ และ ตำแหน่ง สูงขึ้นไป 15,000 เมตร เป็นเปลือกห่อหุ้มโลก มีสีขาวเงินยวง พยับแดด เชื่อว่า เป็น ชั้นเทพเทวดา
10. ควบคุมโดยสมาธิจิต
11. ซึมซับโดยพลังจิต ให้ไป ใกล้ หรือ ไกล
12. ใช้ในทางสร้างสรรค์ หรือ ดี หรือ ชั่วร้าย สาบแช่ง ได้ rusputin ฝึกพลังกายทิพย์ ไปรักษาโอรสของพระเจ้าซาร์ ซึ่งเลือดออกมากให้หยุดได้ แต่ไปปลุก sex ทำให้พลังเคลื่อนที่ลงที่จักระ 1 ต้องรู้จักบังคับให้เคลื่อนขึ้นบนไปที่จักระ 7 จึงจะใช้เพื่อคุณประโยชน์ ในที่สุด rusputin ตายอย่างอนาถ

เส้นทางของพลังกายทิพย์
สัญลักษณ์ทางการแพทย์ คือ งู 2 ตัวพันคทา เป็นเส้นทางเดินหลักของพลัง 3 เส้น ได้แก่
1. Ida (อิดา) สีเหลืองพลังเย็น เดินจากจักระ 1 ขึ้นไปทางซ้ายวนไปสู่ pituitary gland ที่จักระ 6
2. Pingala (ปิงคลา) สีแดงพลังร้อน เดินจากจักระ 1 ขึ้นไปทางขวาวนไปสู่ pituitary gland ที่จักระ 6
3. Sushumna (สุสุมนา) แปลว่า ไม้เท้าพราหมณ์ หรือ พลังศิวะ ถ้าเปิดที่จักระ 7 เป็นเทพ ถ้าปิดเป็นนรก เดินจากจักระ 7 pineal gland ตรงลงมาข้างล่างที่ จักระ 1 กระตุ้นกิเลส พ่นพิษ กระตุ้นน้ำมันทอง (golden oil) จาก Kanda ต่อมรูปร่างคล้ายหัวหอมยับย่นที่ฝีเย็บ
เมื่อเกิดอารมณ์ งู 2 ตัว มีอาหาร คือ กิเลสตัณหา จึงเป็นที่รองรับอารมณ์จากตัวเอง ความชั่วร้ายจึงเป็นตัวทำลายน้ำมันทอง และ เผาผลาญความดีงามของตัวเอง

การรักษาโดยใช้พลังกายทิพย์
สถานที่ ควรอยู่ในที่โล่ง มีแสงแดดบ้าง ไม่เปิดไฟนีออน การเดินลมปราณก่อนใช้พลังจิต ผู้ให้พลังต้องฝึกเดินลมปราณอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยหายใจเข้าทางจมูกช้าๆลึกๆ=หายใจออกทางปากช้าๆลึกๆ ลมปราณคือพลังที่ลึกที่สุด พลังลมปราณและพลังจิตหนาแน่นมาก

การจัดท่านั่ง ผู้ให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ กำหนดจิตที่กระหม่อมของตัวเอง ลืมตามองผู้รับพอควร ผู้รับหันหน้าไปทางทางทิศตะวันออก นั่งสมาธิจีบนิ้วมือหลับตา และ กำหนดจิตที่กระหม่อมตัวเอง

การกระตุ้นจักระ 6-7 วางมือหนึ่งที่จักระ 6 ที่หน้าผาก และ วางอีกมือที่จักระ 7 โดยใช้นิ้วโป้งวางที่ร่องหน้าเหนือหู นิ้วที่เหลือวางบนกระหม่อมให้นิ้วกลางอยู่ที่กลางกระหม่อม ใช้เวลานาน 2 นาที

การกระตุ้นจักระ 4-5 วางมือหนึ่งที่จักระ 4 ด้านหลังตรงกับหัวใจ และ วางอีกมือที่จักระ 5 โดยใช้มือหนึ่งวางที่ลำคอด้านหลัง ใช้เวลานาน 2 นาที

การกระตุ้นจักระ 2-3 วางมือหนึ่งที่จักระ 2 โดยใช้นิ้วโป้งวางที่ก้นกบและนิ้วที่เหลือวางบนกระดูกสันหลัง และ วางอีกมือที่จักระ 3 ที่กระเบนเหน็บ ใช้เวลานาน 2 นาที

การกระตุ้นจักระ 3-4 วางมือหนึ่งที่จักระ 3 ที่กระเบนเหน็บ และ วางอีกมือที่จักระ 4 ที่ด้านหลังหัวใจ ใช้เวลานาน 2 นาที

การรักษาโรคต่างๆ ระดับปฐมจักระ โดยทั่วไปใช้จักระ 7 เป็นหลัก หรือ จักระอื่นๆ เช่น
1. ปวดหลัง Rx. จักระ 7 กับ จักระ 5 นาน 2 นาที และ จักระ 5 กับ ที่ปวดหลัง นาน 2 นาที
2. ริดสีดวงทวาร Rx. จักระ 7 กับ จักระ 3 นาน 2 นาที และ จักระ 3 กับ จักระ 2 นาน 2 นาที
3. โรคไต Rx. จักระ 7 กับ ไต ถ้ายังไม่ได้ล้างไตจะหายเร็ว แต่ ถ้าล้างไตแล้วไม่รับรองผล
4. แต่งงานกันแล้วไม่รอมชอม Rx. จักระ 1-2 กับ จักระ 7 ส่งพลังจากล่างขึ้นบน
5. เด็กเหลือขอ Rx. จักระ 7 กับ จักระ 6
6. ตับอ่อน ตับแก่ Thalassemia มดลูก ลำไส้ ต่อมลูกหมาก Rx. จักระ 2-3 นิ้วกลางที่ก้นกบ นิ้วโป้งชี้


หลักการของการฝึกพลังกายทิพย์
1. ดูดพลังทางจักระ 7 อย่าทำมากเกินไป เป็นอันตราย วันละ ไม่เกิน 20 นาที
2. เก็บพลังสะสมไว้ที่จักระ 2
3. ถ่ายพลังให้ผู้อื่นทางปลายนิ้วมือและกลางฝ่ามือ

ลองฝึกด้วยการหันฝ่ามือไปที่พระพุทธรูปพร้อมๆกัน จะรู้สึกเย็นที่กลางฝ่ามือ การดูพระที่ปลุกเสกจริงเช่นกัน ถ้ากำไว้แล้วรู้สึกเย็น จึงจะเป็นของแท้ พลังคอสมิก มีความเร็วกว่าแสงถึง 10 เท่า ดังนั้นแตะเบาๆ พลังก็ผ่านไปได้ พลังจิต วิ่งได้ไกลและเร็วกว่าพลังใดๆทั้งสิ้น เช่น เวลาผมฝันไปว่ากำลังเดินชมวิวกับภรรยา 15 นาที นั่งพัก 10 นาที และเก็บกล้วยไม้ 2-3 นาที ความจริงจิตคิดไปได้เร็วกว่านั้น อาจจะเป็นภายใน 2-3 นาทีเท่านั้น การดูดพลังจากดวงอาทิตย์และการถ่ายพลัง ต้องมี ผู้ให้ และ ผู้รับ เหมือน คลื่นวิทยุเมื่อสถานีส่งคลื่นออกไป มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไปโดยรอบ ถ้าไม่เปิดเครื่องรับคลื่นวิทยุก็ไม่ได้ยินว่ามีเสียงอะไร ? เช่นเดียวกัน ผู้ให้ถ่ายพลังให้ผู้รับ แต่ถ้าผู้รับพลังไม่มีศรัทธาไม่เปิดเครื่องรับ ก็ไม่สามารถรับพลังที่ผู้ให้ส่งไปได้
สำหรับผู้ให้ ไม่ต้องกลัวว่าให้ไปแล้วจะหมด แต่ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ เพราะ ผู้ให้ คือ ตัวกลาง ผู้ดูดพลังจากพระอาทิตย์ส่งต่อไปให้ผู้รับ ถ้าเรียนแล้วไม่ฝึกฝนก็จะเหมือนท่อประปาที่ทิ้งไว้นานสนิมเขรอะ

การให้เป็นการฝึกเป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีเมตตากรุณา ต้องมีศีล 5 ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน การรักษาตัวเอง คือ
1. รักษากายเนื้อให้สมบูรณ์ ให้ชราโดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน โดย การเคลื่อนไหว ทำให้หัวใจแข็งแรง และ มีเหงื่อออก เช่น ผมว่ายน้ำท่ากบแก่ๆ วันละ 20 เที่ยว 5 วัน/สัปดาห์
2. รักษากายทิพย์ให้สมบูรณ์ ด้วยสมาธิ
3. รักษาอารมณ์ให้สมบูรณ์ ด้วยมงคล 38 ประการ อเสวนา จ พาลานัง ฯลฯ
ผู้ให้ต้องรักษาความสะอาด เช่น รักษาผู้ป่วยโรคปวดเท้า มือหนึ่งอยู่ที่จักระ 7 อีกมืออยู่ที่เท้า เมื่อจะรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ถ้าเอามือที่วางที่เท้าไปวางที่จมูก คงไม่ดีแน่ ต้องล้างมือให้สะอาดก่อน
กาย-เคลื่อนไหว แต่ จิต-สงบนิ่ง

ข้อห้ามสำหรับการรักษาโดยใช้พลังกายทิพย์
1. ห้ามรักษาเวลากลางคืน ยกเว้นคราวจำเป็น เช่น ผึ้งต่อย ใช้ สีม่วง
2. ห้ามรักษาในโรงพยาบาล เพราะเราไม่ใช่หมอที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราเป็นมือซ้าย ไม่ใช่มือขวา ไม่ปฏิเสธการแพทย์แผนปัจจุบัน เรารักษาตามการวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน หรือ รักษาได้เฉพาะ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน ฯลฯ
3. ห้ามรักษาใต้แสงไฟนีออน เพราะว่าต่อต้านกัน ให้ปิดแสงไฟนีออน หรือ ออกไปในที่โล่ง
4. ห้ามเรียกร้องเงินทองในการรักษา ยกเว้นเป็นอาชีพ ต้องไปทำบุญด้วย
5. ไม่โอ้อวด อิทธิฤทธิ์ เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ และ ใช้พลังจิต ส่งความปรารถนาดี อย่างน้อยที่สุดต้องคิดว่าดีขึ้น


ที่มา :
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=54

จินตภาพบำบัด

จินตภาพบำบัด

จินตภาพบำบัดคืออะไร

จินตภาพบำบัด คือ การนึกภาพลักษณ์หรือสัญลักษณ์ ที่ไม่มีอยู่จริงจินตนาการมามองอยู่ในใจและแก้ไขความผิดปกติของร่างกายโดยการส่งข้อมูลไปยังจิตใต้สำนึก เนื่องจากข้อมูลที่เราต้องการให้เกิดขึ้นถ้าทำในระดับจิตสำนึกแล้วจะไม่ได้ผลนัก เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ จิตใต้สำนึกก็จะยอมรับข้อมูลหรือภาพลักษณ์นั้นแจ่มชัดขึ้น มั่นคงขึ้น ส่งผลต่อการทำงานต่อสมอง ฮอร์โมน และแก้ไขอาการหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การทำจินตภาพบำบัดด้วยตนเองทำได้ง่ายแต่ให้ผลช้า ทำให้หลายคนเลิกล้มวิธีการนี้ไป แต่หากทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนย่อมเกิดผลดีมากกว่า ตัวอย่างอาการที่ใช้จินตภาพบำบัดเช่น เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน กินจุ ติดสุรา ติดบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้จินตภาพบำบัดในการร่วมรักษาโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประสิทธิภาพ และยังมีประโยชน์ในการเล่นกีฬาช่วยให้พัฒนาฝีมือและบรรลุเป้าหมายในการแข่งขัน ซึ่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะซักประวัติและค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ทำจินตภาพบำบัดต้องการแก้ไข และต้องได้รับความร่วมมือและความสม่ำเสมอในการบำบัดด้วย

การสร้างจินตภาพ
การสร้างจินตภาพเป็นเทคนิคที่ใช้ในการบำบัดที่มีมานาน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในประเทศไทยการสร้างจินตภาพได้รับความสนใจมากขึ้น การสร้างจินตภาพเป็นเครื่องมือทางความคิดที่กระตุ้นระบบรับรู้หลากหลาย เช่น การมองเห็น การฟัง การได้กลิ่นรส และการเคลื่อนไหว ความคิดทางบวกและการสัมผัสแม้ว่าแนวคิดนี้จะทำให้เกิดสุขภาพที่ดี แต่ประชาชนต้องตระหนักถึงผลในแง่ลบด้วย โดยก่อนที่จะใช้ต้องมีความเข้าใจและความรู้เป็นอย่างดี บทความนี้กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับการสร้างจินตภาพ เช่น ความหมาย ทฤษฎีการสร้างจินตภาพปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างที่ดี และการปฏิบัติ


ขั้นตอนในการปฏิบัติการสร้างจินตภาพ
1. เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติสวมเสื้อผ้าที่หลวมรับประทานอาหารให้พอดี ไม่หิวหรืออิ่มเกินไป
2. เลือกสถานที่ที่ปฏิบัติในสถานที่เงียบสงบบรรยากาศไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบความหมายและประโยชน์ของการสร้างจินตภาพและเปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติซักถาม ให้ความมั่นใจและแจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าการสร้างจินตภาพทุกครั้งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกปฏิบัติตลอดเวลาเพราะผู้ฝึกปฏิบัติ มักคิดว่าการสร้างจินตภาพทำให้ตนถูกควบคุมหรือเสียการควบคุมก่อให้เกิดความวิตกกังวล การสร้างจินตภาพอาจไม่ประสบความสำเร็จ
3. แจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าเขาสามารถหยุดการสร้างจินตภาพได้ตลอดเวลา เมื่อต้องการจะสิ้นสุด การทำให้ผู้ฝึกปฏิบัตินับเลขในใจช้าๆ จากเลขหนึ่งถึงเลขห้าแล้วค่อยๆ ลืมตาผู้ฝึกปฏิบัติก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
4. เริ่มต้นปฏิบัติด้วยการผ่อนคลาย
5. ตามด้วยการสร้างจินตภาพน้ำเสียงตลอดการปฏิบัติที่ใช้ต้องช้าเรียบ สงบ เยือกเย็น ให้ความเชื่อมั่นในการนำการสร้างจินตภาพ ไม่เร่งรีบ
6. ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติให้นับเลข 1-5 และให้ผู้ฝึกปฏิบัติเปิดตา เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติได้อยู่อย่างสงบและคิดถึงสิ่งที่ได้ปฏิบัติมา นานเท่าที่ผู้ฝึกปฏิบัติต้องการ





ที่มา ;
www.balavi.com/content_th/exercise/exercise19.asp - 16k -
http://www.medihealing.com/my_pictures/56723_imagesCAPHXU45.jpg
http://www.iqeqdekthai.com/know/learn/learn11.html

สมาธิบำบัด

กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของ พลังในร่างการย ความสัมพันธ์กาย - จิต

...สมาธิบำบัด...

ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์สมัยใหม่ การเขียนแผนที่รหัสพันธุกรรม การโคลนนิ่ง หรือแม้แต่การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ โลกมนุษย์มีวิทยาการสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่โรคภัยก็คุกคามมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นโรคทางใจ เช่นความเครียดที่ส่งผลถึงกาย และแก้กันไม่ได้สักที จนหลายครั้งที่หลายหน่วยของสังคมโลกต้องหันมาทบทวนว่า วิทยาการสมัยใหม่เป็นคำตอบสำหรับทุกสิ่งจริงหรือ

คำตอบที่ได้คือ เราอาจต้องชะลอการพัฒนาภายนอกลงบ้าง และหันมาพัฒนาจิตใจข้างในกายของเรา เพราะกายกับใจต้องไปด้วยกัน ภัยสุขภาพที่คุกคามมนุษย์มากที่สุด คือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมผิดปกติ ดังนั้นทางออก อาจคือการต้องปรับใจ และต้องใช้สมาธิบำบัดเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

สมาธิบำบัด เป็นความรู้ของวงการแพทย์ซีกโลกตะวันตก ที่สนใจด้านการฝึกจิตและนำการฝึกสมาธิเข้ามาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งได้ผลดี โดยหลักการของ “สมาธิ” คือการทำจิตใจให้สงบ อันจะส่งผลให้การทำงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ

เชื่อหรือไม่? การฝึกสมาธิเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ มีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึก หรือ การฝึกสมาธิแบบผ่อนคลาย ช่วยลดความดันโลหิตลงได้ และ การฝึกสมาธิ ทำให้มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มีขนาดลดลงได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สิ่งสำคัญของสมาธิบำบัดก็คือ การใช้สมาธิเพื่อฝึกใจให้มีพลังและมีอำนาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในที่นี้ใช้เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่เกี่ยวกับโรคที่มีเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์ที่เกิดจากโรคได้ วิธีการฝึกสมาธิบำบัดมีหลายวิธีได้แก่

1. การนั่งภาวนา
2. การเดินจงกรม
3. การใช้พลังภายในร่างกาย
4.การใช้พลังภายนอก
5. การฝึกเพ่งลูกแก้ว
6. การอธิฐานจิต
7. การแผ่เมตตา
8. การใช้พลังของคนอื่น (หมอหมู่)

การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่หยาบไปสู่ความละเอียด เมื่อใจสงบกายกับใจก็จะแยกกัน เมื่อสามารถรู้จักใจได้ก็สามารถให้ใจทำอะไรได้ตามต้องการเท่าที่พลังของใจจะทำได้ ก่อนถึงขั้นนั้นใจต้องสงบเสียก่อน ผู้ฝึกต้องมีความอดทน มีศรัทธาและมีความสม่ำเสมอในการฝึกก็จะบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ

การบริหารกาย – ใจโดยใช้หลักพระพุทธศาสนา

1. การให้ทาน มุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่น ได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์
2) เจตนาการให้ทานต้องบริสุทธิ์
3) เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์

ทานที่ให้ผลมากคือ อภัยทาน การให้ธรรมทาน 100 ครั้งก็ยังไม่เท่าการให้อภัยทาน คือ การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาต จองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ โทสะ กิเลส และเป็นการเจริญ เมตตาพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ละความพยาบาท

2. การรักษา คือ แปลว่า ปกติ คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและตามฐานะ เป็นการตั้งใจรักษาความปกติของตนเอง ในที่นี้คือศีล 5
ข้อที่ 1 ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความโกรธและขาดเมตตา มีผลต่อ ตับ
ข้อที่ 2 ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ มีผลต่อ ปอด
ข้อที่ 3 ไม่ล่วงประเวณีในคู่ครองหรือคนในปกครองของคนอื่น มีผลต่อหัวใจ
ข้อที่ 4 ไม่กล่าวมุสา มีผลต่อ ม้ามและกระเพาะ
ข้อที่ 5 ไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดอง ของมืนเมา ทำให้ขาดสติ สัมปชัญญะ มีผลต่อไต

3. การภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด ในพระพุทธศาสนาการภาวนามี 2 อย่าง คือ
3.1 สมถภาวนา (การทำสมาธิ) ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ คือ ทำใจให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนามี 40 วิธี ซึ่งจะใช้วิธีใดก็ได้ สุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ การเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย
การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่เสียเงินเสีย ทอง เพียงแต่คอยระวังรักษาสติไม่ให้จัดแส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่กิจการงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี
2. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่
3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ

ประโยชน์ของสมาธิ
- ทำให้จิตเหมาะแก่การงาน
- ภาวะของการได้ฌาน เป็นการหลุดพ้นเพียงชั่วคราว เพราะกิเลสไม่ได้ถูกทำลาย เป็น เพียงระงับด้วยกำลังของฌาน “หินทับหญ้า”
- ประโยชน์ที่แท้ของสมาธิ คือ ประโยชน์ทางปัญญา เพื่อความหลุดพ้นสิ้นอาสวะ ปัญญาทางพุทธศาสนา หมายถึง การถอนตนออกจากสิ่งทั้งปวง โดยทำลายความยืดมั่น ถือ มั่น ให้หมดสิ้นไป อันเป็นการปลดเปลื้องจิตให้พ้นจากความเป็นทาสหรือไม่อยู่ใต้อำนาจของสิ่งใด ๆ

3.2 วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีเพียงอย่างเดียวคือขันธ์ 5 (รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) สมาธิเปรียบเหมือน หินสับมีด ส่วนวิปัสสนาเหมือนมีดย่อมีอำนาจถากถางกิเลส คือคลายจากอุปทาน คือ ความยึดมั่น ถือมั่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ ความโกรธ ความหลง ดังนั้น การเจริญวิปัสสนาต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน

สมาธิบำบัด : การบริหารใจ ด้วยสมาธิ
1. มหัศจรรย์ภายในร่างกาย ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว / ใจรักษากาย
2. สาเหตุของโรคมัก จะพบว่าเป็นสาเหตุด้วยใจมีอำนาจเหนือกว่ากาย
3. ความสุขอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าความสงบ ร่างกายก็จะได้รับการพักผ่อนไปด้วยการฝึกสมาธิ เพราะการฝึกสมาธิช่วยแก้ปัญหาชีวิตที่ตรงจุด และเป็นความสุขที่แท้จริงหาได้จากใจที่อยู่ภายในตัว ซึ่งก็มีผลต่อร่างกาย ทำให้สุขภาพกาย – ใจดีด้วย

4. การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนคลื่นความถี่ของใจให้เกิดความถี่ที่สูงขึ้นและสมองจะสร้างสนามพลังออกมาหุ้มห่อร่างกายที่เรียกว่า ออร่า
5. การฝึกสมาธิทำให้ใจอยู่ในอารมณ์สงบ ร่างกายก็จะได้รับการพักผ่อนไปด้วย การฝึกสมาธิเป็นยาอายุวัฒนะอย่างหนึ่ง
6. การฝึกสมาธิควรยึดหลักสายกลางคือ ไม่เคร่งครัดและไม่หย่อนยานกับตนเองจนมากเกินไป การฝึกจะทำให้การนึกคิดเปลี่ยนไปทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจ
7. ยืดหลักสายกลาง ใจนั้นมีอำนาจทุกครั้งที่มีความสมดุลทางอารมณ์ การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และการรับรู้ต่อสิ่งภายนอก เมื่อฝึกแล้วจะรู้สึกว่าตนเองใจเย็นลง ไม่เร้าร้อนมีความมั่นคงทางใจ และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน มีความเชื่อมั่นเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป สามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้
8. การอยู่คนเดียวเป็นการพัฒนายกระดับใจให้สูงขึ้น ด้วยการฝึกความสงบรับประทานอาหารน้อย นอนน้อย พูดน้อยหรือพูดเท่าที่จำเป็น ไม่ติดกับความสะดวกสบายเป็นการเปิดโอกาสให้ใจมีอิสระ สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการสร้างสนามพลังให้กับตนเอง
9. สิ่งสำคัญของการฝึกสมาธิขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความเพียรพยายาม ความศรัทธา ความอดทน และความสม่ำเสมอ



ที่มา ;
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=368 http://www.siamsouth.com/smf/index.php?action=printpage;topic=1092.0
www.bloggang.com/viewblog.php?id=sriphat&date=28-12-2006&group=8&gblog=17 - 39k –
www.be-v.net/index.php?lay=show&ac=article...
http://www.momypedia.com/elctfl/rlga/imgstk/img4_1653.jpg\
http://www.kullastree.com/site/images/879getfit01.jpg
http://www.kalyanamitra.org/kal_magazine/march_45/images/med_1.jpg
http://dhamma.net/give/lastpage/pic/girl_med2.jpg

วารีบำบัด

วารีบำบัด คุณค่าแห่งสายน้ำ

ปราชญ์โบราณเคยกล่าวไว้ว่า ทุกสรรพคุณทุกชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากสายน้ำ นั่นเป็นเครื่องยืนยันได้ดีถึงความสำคัญของสายน้ำในอารยธรรมของเรา และหากไม่นับเรื่องของการบริโภคซึ่งเป็นคุณค่าสำคัญที่สุดของน้ำต่อร่างกายแล้ว คุณสมบัติของน้ำซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสุขภาพมนุษย์ ก็คือการนำน้ำมาใช้ในแง่ของการบำบัดรักษาโรค ที่เรียกว่า Hydrotherapy หรือวารีบำบัด ที่มีความเป็นมายาวนานเท่ากับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็ว่าได้

วารีบำบัดคืออะไร
วารีบำบัด (Hydrotherapy) เป็นการใช้น้ำในการรักษาโรค บรรเทาอาการปวดทำให้ผ่อนคลายและรักษาสุขภาพทั่วไป การรักษาอาจใช้น้ำร้อน น้ำเย็น น้ำแข็ง หรือไอน้ำ โดยการแช่ในอ่างน้ำเย็น อ่างน้ำร้อน อ่างนั่ง โดยอ่างนั่งให้มีความสูงระดับเอว อ่างโคลน อบไอน้ำ ฝักบัวชนิดรูน้ำเล็ก นวดเกลือ ฉีดน้ำความดันสูง ประคบความเย็นหรือร้อน ล้างช่องคลอด และล้างลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นการล้างผนังด้านในของลำไส้ใหญ่ วารีบำบัดอาจครอบคลุมไปถึงการดื่มน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษ อย่างเช่น น้ำแร่

เนื่องจากน้ำมีอยู่เกือบทุกที่ทุกแห่ง สามารถหาและใช้ได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้เพื่อดูแลสุขภาพและรักษาโรคไม่ว่าจะเป็นในวัฒนธรรมใด อย่างเช่น ในช่วงสมัยโรมันที่มีอ่างอาบน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ในโรงยิม เพื่อสร้างสังคมและสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยการออกกำลังกายสลับเป็นการผ่อนคลายไปในตัว และในประเทศฟินแลนด์จะนิยมการอบเซาน่า ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ทำกันมาเป็นเวลา 2,000 ปี ซึ่งผู้อพยพย้ายถิ่นนำมาสู่อเมริกาเมื่อหลายปีก่อนก็ยังเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในระยะหลังวารีบำบัดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ซึ่งข้อควรระวังในการทำวารีบำบัด ไม่เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์และผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง และถ้าใช้น้ำแข็งในการประคบ ควรห่อด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าอย่างอื่นก่อน เพื่อไม่ประคบลงบนผิวโดยตรง

วารีบำบัดมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
ย้อนหลังไปตั้งแต่ก่อน 2,400ปี ก่อนคริสตกาลหลายวัฒนธรรมเก่าแก่ของโลก เช่นชาวอียิปต์ ชาวแอสซีเรีย หรือในกลุ่มชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ล้วนแต่ใช้น้ำในการเยียวยารักษาโรคในซีกโลกตะวันออกก็เช่นเดียวกัน ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ชาวอินเดียในภาคเหนือใช้น้ำในการรักษาไข้หวัด แต่วัฒนธรรมที่มีการนำน้ำมาใช้ในแพทย์ทุกด้านของชีวิตมากที่สุดพบในชนชาติกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแรกที่ให้คุณค่าต่อความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต พวกเขามักใช้สถานที่ริมน้ำพุหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติทั้งในการอาบน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ

จนกระทั่งล่วงเข้าช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จึงค่อยๆพัฒนาการบำบัดด้วยน้ำในรูปแบบสมัยใหม่ขึ้นมา เช่นการบำบัดโรคฝีดาษด้วยน้ำเย็น การบำบัดยังครอบคลุมถึงการใช้ประโยชน์จากน้ำอุ่นในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและโรคเกี่ยวกับอาการทางจิต จนปลายศตวรรษที่ 19 การออกกำลังกายด้วยน้ำจึงได้รับการปรับปรุงและใช้ในการบำบัดในหลากหลายโรคอย่างเป็นระบบมากขึ้น

ปัจจุบันวารีบำบัดได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในแง่ของการเป็นทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาตามวิถีธรรมชาติ ซึ่งวิธีการบำบัดที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากมีสองรูปแบบใหญ่ๆคือ วารีบำบัดในส่วนของการออกกำลังกายใต้น้ำและวารีบำบัดในส่วนของสปา ในส่วนของการออกกำลังกายใต้น้ำ เป็นกิจกรรมที่ต้องทำในสระว่ายน้ำที่ออกแบบและปรับอุณหภูมิไว้เหมาะสม รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการออกกำลัง เช่น ราวจับข้างสระน้ำ สตูลที่มีความสูงระดับต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ภายนอกที่ช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย เช่น ทุ่นและห่วงยางที่ใช้พยุงตัว รวมทั้งอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการฝึกร่างกายเฉพาะส่วน

ชี่กง การฝึกหายใจบำบัดโรค

ชี่กง...การฝึกหายใจบำบัดโรค

ชี่กง ฟังดูแล้วชวนให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายใน ซึ่งโดยความหมายก็ไม่แตกต่างจากที่คิดนักเพราะชี่กงก็มีต้นกำเนิดจากแผ่นดินใหญ่มากว่า 4,000 ปีก่อนพุทธกาลเสียอีก

หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ชี่กง" กันมาบ้าง แต่ก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
ชี่กง มีชื่อเสียงในเรื่องของสุขภาพมากว่า สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยบำบัดโรคได้หลายโรค อาทิ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง โรคติดเชื้อบางชนิด หรือแม้กระทั่งมะเร็งก็สามารถช่วยอาการจากโรคนี้ให้ดีขึ้น

ชี่กงคืออะไร
ชี่กงมาจากคำว่า"ชี่" หมายถึงพลังชีวิตซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนในรูปแบบที่แตกต่างกัน เรารับเอา ชี่ มาจากภายนอกโดยการกินอาหาร รับแสงแดด การหายใจ เป็นต้น "กง" คือการ กระทำที่นำไปสู่พลังชีวิต "ชี่กง" จึงหมายถึง การฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนพลังชีวิตในร่างกาย

ชี่กงคือ การบริหารร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ หลักของชี่กงตรงกับระบบรักาาทางการแพทย์แบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ

ชี่กง มีความเป็นมาอย่างไร
ชี่กงหรือการฝึกหายใจมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในประเทศจีนได้ถูกบันทึกไว้ในตำรับตำราการแพทย์นับตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแพทย์แผนโบราณของจีนการฝึกการหายใจ ประกอบด้วยทูน่า (การหายใจออกและการหายใจเข้า) สมาธิ (การนั่งอย่างเงียบๆกำหนดการหายใจ) และเน่ยกง (การมุ่งฝึกกำลังภายในด้วยตนเอง) การฝึกฝนร่างกายด้วยท่าต่างๆ การกำหนดลมหายใจและจิตใจจะทำให้คนสามารถบ่มเพาะพลังชีวิตขึ้นมาบำบัดรักษาความเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ตามทฤษฎีการแพทย์จีนแผนโบราณนั้น พลังชีวิตหรือชี่ มีความหมายอย่างมาก มันเป็นพื้นฐานทางวัตถุของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของชีวิตมนุษย์ เมื่อชีวิตสิ้นสุดลง พลังชีวิตนี้จะหายไป พลังชีวิตที่เข้มแข็งจะทำให้คนเรามีสุขภาพดี ส่วนพลังชีวิตที่อ่อนแอจะทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่ดี ดังนั้นการแพทย์แผนโบราณของจีน จึงให้ความกับใจอย่างมากต่อการบ่มเพาะพลังชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพดี
ชี่กงในเชิงวิทยาศาสตร์

ในเชิงวิทยาศาสตร์ชี่กงเป็นพลังงานหลายรูปแบบ ที่พบมากคือคลื่นรังสีอินฟาเรดและประจุไฟฟ้า ปรัชญาทางการแพทย์กล่าวถึงความสำคัญของสมดุล และการไหลเวียนของเลือดเหมือนนำที่ต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน ซึ่งชี่จะไปตามกระแสเลือด การอุดตันของเส้นพลังงานจึงอาจเกิดทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งรักษาได้ด้วยการ ฝังเข็ม การกดจุด และชี่กง

การออกกำลังกายแบบชี่กง
ชี่กงเป็นการออกกำลังกายแบบ exercise ที่ระบบ autonomic เช่นการทำให้มือที่เย็นเปลี่ยนเป็นร้อน ความดันก็จะลดลง การทำให้นำลายที่แห้งกลับมีนำลายออกมา หรือทำให้ลำไส้ซึ่งเคยนิ่งกลับทำงาน เวลาฝึกจึงมักผานลม หรือท้องร้อง

ชี่กงไม่ใช่สูตรสำเร็จ
การออกกำลังกายด้วยการฝึกชี่กงไม่ได้เน้นเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นหลัก เพราะคนแข็งแรงไม่จำเป็นต้องกล้ามใหญ่ แต่ต้องมีความว่องไว และความทนทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ชี่กงไม่ใช่สูตรสำร็จ จึงควรออกกำลังกายอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จ๊อกกิ้ง ไทเก๊ก หรือรำตะบอง

ชี่กงรักษาโรคได้จริงหรือ
นายแพทย์เทอดศักดิ์ยืนยันว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีการวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศ รวมทั้งมีการเผยแพร่ ข้อมูลผ่านทางวารสารทางการแพทย์ในประเทศจีน พบว่า โรคที่ตอบสนองได้ดีกับการฝึกชี่กงคือ โรคในกลุ่มที่เรียกว่า psychosomatic ซึ่งก็คือโรคทางกายอันเนื่องมาจากจิตใจ เช่น ไมเกรน ความดันสูง ภูมิแพ้

ผลของชี่กง
• ผลของจิตใจ ที่สงบสบาย ย่อมทำให้ร่างกายสมดุล เจ็บไข้ได้ยาก ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
• ผลของสมาธิ สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง ลดการทำงานของหัวใจ ความดันเลือดลดลง เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอย ย่อมผ่นระบบประสาทอัตโนมัติ
• ผลของภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
• ผลต่อระบบโฮร์โมน ทำให้ระบบฮอร์โมนเกิดความสมดุล ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
• ผลของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

กระบวนท่าในการฝึก
เนื่องจากปัจจุบันนี้ชี่กงกลายเป็นศาสตร์ตะวันออกซึ่งเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทำให้เกิดสำนักฝึกชี่กง ขึ้นมากมาย และมีชี่กงแบบต่างๆถึง 3000กว่าสำนัก แต่ท่าที่รับความนิยมอย่างกว้างขวางคือชี่กง 18 ท่าซึ่งดีต่อผู้ใหญ่ แต่สมาธิไม่ต่อเนื่อง อีกแบบคือสำนักฝ่าหลุนกง ซึ่งมีเพียง 5 ท่า เน้นที่ความนิ่ง ท่าน้อยแต่ให้พลังมาก

ข้อดีของชี่กง
คือสามารถฝึกได้เองในท่าง่ายๆ โดยดูจากหนังสือแล้วฝึกตาม หรือเข้ากลุ่มฝึกตามสถานที่ที่มีการออกกำลังกายแบบชี่กง หากอยากเรียนรู้ให้ลึกซึ้งและได้ผลมากขึ้น ก็สามารถ ไปเรียนกับผู้รู้หรือที่เรียกว่าอาจารย์ตามสำนักต่างๆ

วิธีเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย
การฝึกควรทำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฝึก ควรสวมเสื้อผ้าที่สบายยืดหยุ่นดี แต่ไม่ควรสวมรองเท้า ไม่ควรฝึกในอารมณ์ที่ไม่ดี หากกำลังเครียดต้องฝึกหายใจ จนความเครียดลดลงระดับหนึ่งก่อนจึงเริ่มฝึกชี่กงไป


กระบวนท่าในการฝึกชี่กง


• ท่าที่ 1ปรับลมปราณ
วางเท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ปล่อยแขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือแล้วยกขึ้น ผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆแล้วควำฝ่ามือ ลดลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

• ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง
จากท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้น และเคลื่อนมาช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก จึงค่อยๆกางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่าจังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

• ท่าที่ 3 อินทรีทะยานฟ้า
จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก

• ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา
จากท่าที่ 3 ตวัดช้อนข้อมือจากด้านข้างเข้าหาตัว เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคาง แล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัวไม่ต้องย่อเข่า) การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง


ที่มา : คู่มือ หมอประจำตัว
คู่มือฝึกชี่กง “ต้าวสือ” แปลและเรียบเรียง
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=77
http://www.stottpilates.com/warmup/en/images/lifestyle/natalia-breathing.jpg

โยคะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

โยคะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

โยคะคืออะไร
โยคะเป็นปรัชญาแขนงหนึ่งของศาสนาในอินเดียที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะวิทยาศาสตร์แบบดั้งเดิมมีแนวคิดในการแยกจิตใจออกจากกาย คือสิ่งที่ถูกสังเกตและผู้สังเกตจะแยกจากกัน ซึ่งไม่สามารถใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ทั้งหมด แต่คัมภีร์ปรัชญาศาสนาของทางตะวันออกสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ได้ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มมีแนวคิดว่า จิตใจกับกายจะไม่แยกออกจากกัน การได้คำตอบของสิ่งต่างๆ จะมาจากการตั้งคำถามและวิธีการทดลองที่แตกต่างกัน และยังขึ้นกับจิตของมนุษย์ที่ไปกำหนด คำตอบต่างๆ มีกฎตายตัวที่คอยกำหนด ไม่ใช่พระเจ้าเป็นผู้กำหนดเหมือนความเชื่อในสมัยก่อน การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเกิดขึ้นจากภายในของตัวมันเองและมีแบบแผนที่สัมพันธ์กัน ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องเหตุปัจจัยในพุทธศาสนา ทำให้ในปัจจุบันนี้มีการหันมาสนใจการดูแลสุขภาพแบบตะวันออกมากยิ่งขึ้น เช่น การแพทย์ของจีนมีการฝังเข็ม ของอินเดียก็คือ อายุรเวท และ โยคะ เป็นต้น


ปรัชญาโยคะ
ท่านศิวานันทะได้สรุปไว้ว่า ทุกสิ่งจะมีคุณลักษณะ (Guna) 3 ประการ ได้แก่
1. สัตวะ (Sattva) คือ คุณลักษณะที่บริสุทธิ์ของสิ่งต่างๆ ได้แก่ อาหารพวกธัญพืช ผลไม้สด ผักสด น้ำผลไม้สด นม เนย เมล็ดพืช น้ำผึ้ง และ การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด สุขุม ก็ถือเป็นสัตวะด้วย
2. รชัส (Rajas) คือ คุณลักษณะอาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้น ได้แก่ อาหารพวกเครื่องเทศ ชา กาแฟ ปลา ไข่ เกลือ ช็อกโกแลต ผลไม้ที่เกือบสุก และ การกินอาหารเร็วก็ถือเป็นรชัสด้วย
3. ทมัส (Tamas) คือ คุณลักษณะความเฉื่อยเนือย ได้แก่ อาหารพวกเนื้อสัตว์ แอลกอฮอล์ ยาสูบ หอม กระเทียม อาหารหมักดอง ผลไม้ที่สุกจัดกำลังจะเน่า น้ำส้มสายชู และ การกินอาหารมากเกินไป (over eating) จะทำให้มึนซึม เฉื่อยเนือยได้ จึงถือว่าเป็นทมัสด้วย

จะเห็นได้ว่าโยคะจะดูแลตั้งแต่เรื่องอาหาร คือต้องรับประทานอาหารที่บริสุทธิ์ ซึ่งสอดคล้องกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่ว่า อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ คือ อาหารที่มีกากใยสูงๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ใหญ่ เน้นที่ความสดและไม่เน้นของหมักดอง

โยคะมีหลักการอย่างไร
หลักการของโยคะมี 5 ประการ คือ
1. อาหารดี (proper diet)
2. ออกกำลังกายดี (proper exercise) คือ อาสนะนั่นเอง ซึ่งอาสนะ หมายถึง ท่าบริหารอย่างโยคะ ต้องทำให้เหมาะสมกับวัยและตามจริตวิสัย
3. อากาศดี (proper breathing) คือ ปราณายาม หมายถึง การพัฒนาร่างกายเพื่อเอาประโยชน์จากอากาศให้ดีที่สุด คือการฝึกกระบวนการหายใจนั่นเอง
4. อารมณ์ดี (positive thinking and meditation) ซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจ เพราะโยคะเป็นปรัชญาทางศาสนาอย่างหนึ่ง
5. รู้วิธีผ่อนคลาย (proper relaxation) เป็นส่วนหนึ่งของอาสนะ แต่เป็นการเน้นท่าที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ เช่น ท่าศพ เป็นท่าที่สำคัญเพราะปัจจุบันผู้คนมีความเครียดกันมาก ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายด้วย แต่ถ้ารู้วิธีผ่อนคลายก็จะช่วยฟื้นฟูระบบเหล่านี้ขึ้นมาได้

โยคะเป็นการบริหารที่นอกจากจะบริหารร่างกายแล้วยังมีการบริหารลมหายใจอีกด้วย ผู้ที่ฝึกปฏิบัติโยคะจะมีความแข็งแรงแต่ไม่ใช่แข็งแกร่ง กล่าวคือ แข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแต่ไม่ได้มีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจนบึกบึน นอกจากนี้โยคะยังสามารถใช้บำบัดโรคที่เกี่ยวกับโครงสร้างทั่วๆไปได้ เช่น ปวดหลัง ปวดเอว และ ยังช่วยดูแลเรื่องโครงสร้างที่ผิดปกติได้ แต่ต้องไม่ใช่โรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด โดยต้องเน้นที่การปฏิบัติเอง ไม่ได้มีผู้อื่นช่วยทำให้เหมือนกับการกายภาพบำบัด ตามแนวคิดของอาจารย์โยคะนั้น โรคต่างๆเกิดขึ้นจากพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติในจักรวาลเข้ามาสู่ตัวเราไหลเวียนได้ไม่ดี เมื่อโรคเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นไม่ดี ถ้าเราใช้ท่าบริหารให้เลือดไหลไปสู่บริเวณนั้นได้ดีก็จะสามารถรักษาโรคได้

มีการกล่าวว่าโยคะ คือ การเชื่อมโยงผูกพันในแง่ของการเชื่อมโยงชีวิตเล็กๆของเราเข้ากับชีวิตใหญ่ในธรรมชาติ คือ เชื่อมชีวาตมัน (อัตตาเล็กๆของเรา) เข้ากับอัตตาใหญ่ คือปรมาตมัน (พระผู้เป็นเจ้า) จึงเกิดแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาตัวของตนเข้าสู่ชีวิตที่ประเสริฐ

ท่าบริหารร่างกายแบบโยคะ
แบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มท่ายืน เป็นการบริหารส่วนล่างของร่างกาย เช่น ต้นขา น่อง เข่า ข้อเท้า ได้แก่ ท่าสามเหลี่ยม ท่าหน้าจั่ว

2. กลุ่มท่านั่ง เป็นการบริหารอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกปราณายาม เช่น ท่าฤๅษี, ท่านักรบ, ท่าผีเสื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีในอุ้งเชิงกราน ซึ่งช่วยสุขภาพของสตรีไม่ให้ปวดท้องตอนมีประจำเดือน

3. กลุ่มท่าโค้งตัวไปด้านหน้า ลำตัวเป็นที่อยู่ของช่องทางเดินพลังหลัก ท่านี้เป็นการทำให้กระดูกสันหลังโค้งตัวไปด้านหน้าและด้านหลัง เช่น ท่างู เป็นการยกกระดูกสันหลังส่วนบนขึ้น ท่าตั๊กแตนเป็นการยกกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่าธนูเป็นการยกทั้ง 2 ส่วน

4. กลุ่มท่าโค้งตัวไปด้านหลัง เช่น ท่าสุนัขหอน ท่าอูฐ

5. กลุ่มท่าบิดลำตัว ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวทุกทิศทาง ช่วยไม่ให้ปวดหลังหรือกระดูกทับเส้น

6. กลุ่มท่ากลับศีรษะลง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ท่าศีรษะอาสนะ ท่ายืนด้วยไหล่ จะกระตุ้นต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีท่าคันไถและท่าสุนัขบิด-ขี้เกียจ

7. ท่าพัก เช่น ท่าศพ ตัวท่าไม่สำคัญแต่การปฏิบัติให้ผ่อนคลายจะยาก ซึ่งเป็นท่าที่ต้องฝึกเป็นหลัก


ประโยชน์ของโยคะ [ Benefits of YOGA ]
1. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ปรับระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ บำบัดโรคที่เกี่ยวกับเลือดไม่ดี โรคภูมิแพ้ ลมหมักหมม ผิวพรรณที่ไม่ผ่องใส สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนศีรษะง่าย
2. ด้านกายภาพบำบัด
• กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การเดินคล่องขึ้น การทรงตัวดีขึ้น
• กระดูกสันหลังถูกปรับให้เข้าสภาพปกติ ป้องกันอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือ ปวดศีรษะ และปรับรูปร่างให้สมดุล กระดูกไม่งอ ไหล่ไม่เอียง
• ท่าบริหารโยคะบางท่าถูกดัดแปลงใช้กับคนชรา และคนพิการเพื่อสามารถฝึกบนเตียง หรือบนรถเข็นได้
3. กระตุ้นสมองให้มีความจำดีขึ้น
• การผ่อนคลายลึก ๆ หลังการฝึก ทำให้เกิดคลื่นอัลฟา มีผลต่อการผ่อนคลายต่อสมอง
• คลายความเครียด แก้โรคนอนไม่หลับ
4. นวดอวัยวะภายในให้แข็งแรงขึ้น เช่น หัวใจ มดลูก กระเพาะอาหาร ตับ ไต เป็นต้น ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เลือดไปที่ไตล้างไตให้สะอาดขึ้น ระบบการหายใจจะโล่งขึ้น ทำให้การเผาผลาญแคลอรีในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้พลังงานเสริมความแข็งแรง
5. ใบหน้าดูอ่อนเยาว์
• ร่างกายมีสัดส่วนดีขึ้น สวยงามขึ้น
• ช่วยควบคุมน้ำหนักได้อย่างดี
6. ด้านจิตบำบัด
• จิตสงบและมีสมาธิมากขึ้น
• ลดความวิตกกังวลและอาการที่ตื่นกลัว
• นักกีฬา นักเต้นรำ นักแสดง อาจใช้โยคะเพื่อกำจัดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และเพิ่มสมาธิก่อนการแข็งขัน ก่อนการแสดง
• นายแพทย์ ดีน ออร์นิช ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจากแคลิฟอร์เนีย ได้ผสมผสานโยคะแบบใหม่ในการรักษาผู้ป่วย โรคหัวใจ
• โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง และศูนย์วิจัยในแคลิฟอร์เนีย สอนโยคะให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้รู้สึกสงบ
7. เพศสัมพันธ์บกพร่อง สามารถบรรเทา หรือแก้ไขได้ด้วยท่าโยคะหลาย ๆ ท่า

การเตรียมพร้อมก่อนการฝึกโยคะ [ Preparing for Yoga Practice ]
1. อย่ากินอาหารอิ่มเกินไป ควรฝึกก่อนหรือหลังอาหาร อย่างน้อย 1 - 2 ชม.
2. ไม่อ่อนเพลียมาก, หิวมาก, เป็นไข้, หนาวมาก, ร้อนมาก, หรือมีอาการเมาค้างอยู่ และควรขับถ่าย ให้เรียบร้อยก่อนการฝึก
3. สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน ( เฉพาะวันมามาก ) ห้ามฝึก หมายเหตุ สตรีมีครรภ์ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สามารถฝึกโยคะสำหรับผู้มีครรภ์ได้ ภายใต้ความควบคุมของครูฝึกที่มี ประสบการณ์ และควรได้รับการอนุญาตจากสูตินารีแพทย์
4. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว 3 - 6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มฝึก
5. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบาย ๆ เช่น เสื้อยึด กางเกงขายาว หรือขาสั้น สำหรับชุดออกกำลังกาย ต้องไม่ รัดแน่น เกินไป
6. ไม่สวมแว่นตา นาฬิกา เครื่องประดับที่รกรุงรัง
7. สถานที่ฝึกควรเงียบสงบ (ควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะฝึก) สะอาด และไร้ฝุ่นละออง เพื่อป้องกันการแพ้ฝุ่น
8. เลือกเวลาฝึกตามสะดวกแต่เวลาที่ดีคือ ช่วงเช้าก่อนเวลาทานอาหาร ถ้าฝึกช่วงบ่ายควรหาที่ ไม่ร้อนเกินไป
9. ฝึกท่าวอร์มร่างกายก่อนการฝึกทุกครั้ง และแต่ละท่าให้ทำซ้ำ 3 - 5 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ของแต่ละ บุคคล
10. ถ้าเกิดอาการเจ็บปวดแม้จะเล็กน้อยระหว่างฝึกให้หยุดฝึกทันทีแล้วนอนหงายผ่อนคลายอาการเจ็บปวดก่อนที่จะฝึกท่าต่อไป และให้บันทึกอาการเจ็บปวดไว้ เพื่อปรึกษาครูฝึกโยคะที่มี ประสบการณ์
11. ก่อนจบการฝึกทุกครั้งจะต้องจบด้วย ท่าศพอาสนะทุกครั้ง โดยให้หายใจ เข้า ลึกๆ และหายใจ ออก ยาวๆ อย่างช้าๆ 30 - 40 รอบ หายใจ
12. ก่อนลุกขึ้นจากท่านอน ควรตะแคงตัวจากท่านอนเป็นท่านั่งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการปวดหลัง

ที่มา ;
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=38
www.d-health.th.gs/web-d/-health/p8.html
www.d-health.th.gs/web-d/-health/p8.html

ดุลยภาพบำบัดศาสตร์แห่งความสมดุล

ดุลยภาพบำบัดศาสตร์แห่งความสมดุล

ดุลยภาพบำบัดคืออะไร
ดุลยภาพบำบัด คือ วิธีการป้องกันบำบัดรักษาโรค และบำรุงสุขภาพ ด้วยการปรับ ความสมดุลโครงสร้างของร่างกาย ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ด้านสุขภาพและการแพทย์ที่ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคและสรีรวิทยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันและรักษาโรคด้วยตนเอง

หลักการสำคัญในการป้องกันโรค คือ การให้แนวคิด มุมมอง รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ องค์ประกอบที่เป็นเหตุปัจจัยหลักของสุขภาพปกติ และสาเหตุเบื้องต้นที่แท้จริงของความเจ็บป่วย ส่วนใหญ่ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นแนวทางนำไปสู่วิธีการใหม่ในการปกป้อง ดูแลส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน

ส่วนในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยขึ้นแล้ว จะใช้วิธีการบำบัดรักษาที่สาเหตุ ต้นตอของ ความเจ็บป่วยแต่ละชนิด ด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับกระบวนการธรรมชาติของโครงสร้างของร่างกาย โดยไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ แต่อาศัยการบริหารร่างกายตนเองเป็นหลักสำคัญ


ดุลยภาพบำบัดมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
ดุลยภาพบำบัดมีวิธีปฏิบัติที่ทำให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลตลอดเวลา ภาวะสมดุลนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีวิธีปฏิบัติที่ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดในทุกส่วนของร่างกาย มีการหดตัวและคลายตัวเป็นปกติ วิธีปฏิบัติตามหลักดุลยภาพบำบัดนี้ มี องค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1. การระวังรักษาอิริยาบถต่างๆ ให้สมดุลตลอดเวลา
2. การบริหารจัดโครงสร้างของร่างกายให้สมดุล
3. การออกกำลังกายเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาสมดุล
4. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เพื่อให้เกิดการไหลเวียนที่ดี

แนวคิดของดุลยภาพ
1. ดุลยภาพบำบัด คือ วิธีการป้องกันบำบัดรักษาโรคและบำรุงสุขภาพ ด้วยการปรับ ความสมดุลโครงสร้างของร่างกาย
2. การระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถ หมายถึง ในการนั่ง นอน ยืน เดิน วิ่ง ทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องฝึกตัวเองให้มีสติระวังรักษาแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ใน แนวแกนปกติของร่างกายอยู่เสมอ
3. การบริหารเพื่อจัดโครงสร้างของร่างกาย คือ การบริหารร่างกายเพื่อจัดการให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลเสมอ

การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าใดๆ ไม่ว่าการยืน เดิน นั่ง นอน ถ้าจะให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล เป็นปกติตามธรรมชาติคือ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดทั่วร่างกายไม่เครียด ไม่เกร็ง ต้องพยายามรักษาแนวแกนร่างกายให้อยู่ในแนวตรง ตั้งได้ฉากกับพื้นผิวโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นผลให้อวัยวะทั่วร่างกาย สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างถูกต้องสมบูรณ

หลักการและทฤษฎีดุลยภาพบำบัด
1. ร่างกายมนุษย์ มีธรรมชาติที่สามารถดูแลซ่อมแซมและพัฒนาตนเองให้ทุกส่วนดำรงสภาพและหน้าที่ปกติได้ตลอดอายุขัยที่ยืนยาวประมาณ ๑๐๐ ปี หากมีปัจจัยสนับสนุนที่เป็นปกติไม่บกพร่องอยู่เสมอ
2. ปัจจัยสนับสนุนภายนอก ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยทั่วไปในปัจจุบันถือได้ว่าได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้ร่างกายแต่ละคนได้รับเป็นปกติไม่บกพร่อง
3. สาเหตุที่แท้จริงของโรคส่วนใหญ่ที่พบกันโดยทั่วไปในปัจจุบันจึงไม่น่าจะเนื่องจากปัญหาของปัจจัยสนับสนุนภายนอกดังกล่าว
4. ปัจจัยสนับสนุนภายในที่จะช่วยให้เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบทั้งหลายในร่างกายสามารถทำหน้าที่และดำรงสภาพปกติได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญพื้นฐานมี 3 ประการได้แก่
4.1 การลำเลียงออกซิเจน น้ำ และสารอาหาร ไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ อย่างเพียงพอต่อเนื่องและทั่วถึง
4.2 การสื่อสารที่ครบถ้วนทันการณ์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงระหว่างเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่าง ๆ โดยอาศัยสัญญาณประสาทและฮอร์โมน และ
4.3 การระบายของเสียจากกระบวนการชีวะวิทยาออกจากเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ อย่างทันการณ์
5. ความบกพร่องในปัจจัยสนับสนุนภายในที่สำคัญและเป็นพื้นฐานดังกล่าวแม้เพียงประการเดียวก็จะส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือระบบนั้น ๆ ได้
6. สาเหตุที่แท้จริงของโรคส่วนใหญ่ จึงเนื่องมาจากความบกพร่องของปัจจัยสนับสนุนภายในดังกล่าว
7. เส้นเลือด ท่อน้ำเหลือง และช่องว่างในเนื้อเยื่อ เป็นเส้นทางลำเลียงออกซิเจน น้ำ สารอาหาร และฮอร์โมน ไปให้ทั่วถึง และยังเป็นเส้นทางระบายของเสียออกมาจากทุกส่วนด้วย ส่วนเส้นประสาทและช่องว่างในเนื้อเยื่อ เป็นเส้นทางรับส่งสัญญาณประสาท
8. เส้นทางดังกล่าวข้างต้น อาจถูกขัดขวางทั้งโดยตรงและโดยอ้อมได้โดยง่าย โดยการหดเกร็งที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อและพังผืดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเนื่องมาจากการเสียสมดุลโครงสร้าง
9. การเสียสมดุลในโครงสร้างของร่างกายและการดึงรั้งที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อและพังผืดในร่างกาย จึงเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่สำคัญของโรคและความเจ็บป่วยส่วนใหญ่
10. การวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการดูแลสุขภาพ จึงต้องคำนึงถึงความสมดุลของโครงสร้างเป็นปัจจัยหลักสำคัญอันดับแรก

โรคที่รักษาได้ด้วยดุลยภาพบำบัด
เนื่องจากดุลยภาพบำบัด มีแนวทางการวิเคราะห์โรคและการบำบัดรักษาที่ต่างไปจากการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือกที่แยกเป็นสาขา ๆ โดยทั่วไป แต่เป็นการผสมผสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาหลายด้านอย่างเป็นองค์รวม จึงสามารถประยุกต์ใช้บำบัดรักษาโรคหรืออาการป่วยใดใดก็ตามที่สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและกลไกของโรคตามแนวทางดุลยภาพบำบัดได้อย่างชัดเจน และใช้วิธีการดุลยภาพบำบัดแก้ไขสาเหตุและกลไกเหล่านั้นได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราควรจะประยุกต์ใช้วิชาดุลยภาพบำบัดได้ในทุกสาขาการแพทย์และทุกโรค เพื่อจะได้ทราบและสามารถกำจัดและป้องกันสมุฏฐานของโรคนั้น ๆ อย่างครบถ้วนตลอดไปจนถึงโรคและอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้บางโรค อาจมีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องได้รับบำบัดรักษาด้วยยา สารเคมี ผ่าตัด หรือเทคนิควิธีการเฉพาะทาง แต่ดุลยภาพบำบัดก็ยังมีประโยชน์ ในการช่วยเสริมให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นช่วยให้สุขภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างโรคและอาการที่สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและกลไกได้อย่างชัดเจนและบำบัดรักษาได้ผลในเวลาอันสั้น รวดเร็วและหายได้อย่างยั่งยืน ได้แก่
- อาการปวดทั้งหลาย เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดประสาท เป็นต้น
- โรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดข้อ ข้อเสื่อม ข้อกระดูกคอหรือกระดูกสันหลังเสื่อม ปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
- โรคเกี่ยวกับตา หู คอ จมูก เช่น ตาแห้ง ตาระคายเคืองเรื้อรัง ตาแพ้แสง เจ็บคอบ่อยหรือเรื้อรัง ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว อาการคัดจมูกน้ำมูกไหลแบบที่เรียกว่าภูมิแพ้ เป็นต้น
ยังมีโรคและอาการอื่น ๆ อีกมากที่อาจบำบัดรักษาได้ผลด้วยวิชาดุลยภาพบำบัด ซึ่งไม่อาจกล่าวถึงโดยละเอียดได้ครบถ้วน นอกจากนี้ ดุลยภาพบำบัดยังใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่ไม่สบายด้วยหลายอาการหลายระบบร่วมกัน เช่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยง่าย ปวดเมื่อย ท้องอืด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยดุลยภาพบำบัด

1. การตรวจและวินิจฉัยโรค
แพทย์ดุลยภาพบำบัด อาศัยประสาทสัมผัสหรืออายตนทวารทั้งหกประกอบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันตะวันตกทั้งในทางลึกและทางกว้าง ในการรับทราบอาการและตรวจหาความผิดปกติในตัวผู้ป่วย พร้อมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดอาการและความผิดปกติเหล่านั้น ซึ่งเกี่ยวโยงกันไปทั่วทั้งร่างกายและจิตใจ

แพทย์ดุลยภาพบำบัดจะวิเคราะห์สืบย้อนไปจากอาการที่ผู้ป่วยแจ้งและสิ่งที่แพทย์ตรวจพบ ว่าเนื่องมาจากความบกพร่องในการทำหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะใดบ้าง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองหรือการรับส่งสัญญาณประสาทส่วนใดบ้าง ซึ่งเกิดจากการขัดขวางโดยกล้ามเนื้อและพังผืดที่หดเกร็งผิดปกติ ณ ส่วนใด และเนื่องมาจากการเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกายส่วนใด และยังวิเคราะห์ไปในทางตรงข้ามด้วย

การตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวจะพบว่า อาการและความผิดปกติทั้งหลาย ที่ผู้ป่วยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งสิ้น และล้วนสืบเนื่องมาจากการเสียสมดุลในโครงสร้างของร่างกาย
แพทย์ดุลยภาพบำบัด ไม่ถือเอาการวินิจฉัยชื่อโรคหรือบอกว่าเป็นโรคอะไรเป็นข้อยุติ แต่จะวิเคราะห์และอธิบายให้ผู้รับการรักษาได้ทราบความเป็นไปภายในตนเองโดยละเอียดตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

2. การบำบัดรักษา
วิชาดุลยภาพบำบัดผสมผสานและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และวิธีการบำบัดรักษาที่สอดคล้องกับกระบวนการธรรมชาติของร่างกาย เพื่อให้การส่งสัญญาณประสาทและการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลืองกลับสู่ภาวะปกติ เพื่อให้เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ สามารถทำหน้าที่และซ่อมแซมตนเองให้เป็นปกติได้อย่างต่อเนื่องตามธรรมชาติ โดยการประยุกต์ใช้เข็มและการนวดเป็นหลักในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพังผืดที่เป็นปัญหา ร่วมกับการฝึกบริหารร่างกายและการปรับปรุงท่าทางเพื่อแก้ไขและรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของโครงสร้างของร่างกาย

การบำบัดรักษาตามแนวทางดุลยภาพบำบัดจะได้ผลสมบูรณ์เต็มที่ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจเป็นอันดีระหว่างแพทย์กับผู้รับการรักษา

แพทย์ผู้รักษา จะเป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจที่กระจ่างชัดถึงสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่เป็นอยู่รวมทั้งความผิดปกติอื่น ๆ ที่แพทย์ตรวจพบ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เป็นเหตุให้เสียสมดุลภาวะของร่างกาย รวมถึงกระบวนการและวิธีการบำบัดรักษาและวิธีการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วแพทย์จึงให้การบำบัดรักษาโดยการกำจัดสาเหตุของปัญหาในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยเทคนิควิธีการและความชำนาญของแพทย์ช่วยแก้ไขให้

ส่วนผู้รับการรักษาจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการหายใจ การรักษาท่าทางที่ถูกต้องในทุกอิริยาบถและกิจกรรมของชีวิต และการบริหารร่างกาย ทั้งนี้ เพื่อการดำรงรักษาภาวะสมดุลอย่างเป็นพลวัตไว้เสมอ

ที่มา ;
www.drtaworn.com/ - 54k -
http://www.7stepsdetox.com/images/pic86.jpg
http//main.dou.us/view_content.php?s_id=257 - 26k –
http://www.maeban.co.th/img_board/b0858141925.jpg
http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1112994.jpg’
http://www.247freemag.com/_admin/photo/2470002133.jpg

การนวด

การนวด
การนวด ดัด ดึง ในวัฒนธรรมต่างๆ

การนวดคืออะไร
การนวด เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์เรารู้จักนำมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการนวดยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอื่นบางโรคได้ เป็นการรักษาร่วม ตลอดจนการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ Hippocrates ผู้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่ยังเห็นความสำคัญและกล่าวไว้ว่าแพทย์ทุกคนควรมีความรู้เรื่องการนวด การแพทย์ที่ผ่านมาเรายึดถือตะวันตกเป็นแม่แบบ ปัจจุบันกระแสนิยมไทยกำลังได้รับการส่งเสริม การนวดแผนไทยหรือนวดไทยแผนโบราณจึงได้รับการฟื้นฟูจนกลับมาเป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและต่างชาติ และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในสปา ซึ่งสปาที่มีชื่อเสียงมักจะต้องมีบริการนวดอยู่ด้วยไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง และหนึ่งในนั้นก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเป็นนวดแผนไทย Graham ค.ศ.1884 ได้ให้คำจำกัดความของการนวด (massage) ว่าหมายถึงกระบวนการต่างๆที่กระทำโดยมือ เช่น friction, kneading, rolling, and percussion บนเนื้อเยื่อด้านนอกของร่างกายด้วยวิธีการต่างๆกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา ประคับประคอง หรือสุขอนามัย การนวดอาจมีความหมายว่า “การใช้มืออย่างมีสติและสัมปชัญญะ เพื่อกระทำบนร่างกายโดยมีวัตถุประสงค์ในการบำบัด” ในปี 1990 การนวดได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับ 3 ในอเมริการองจากเทคนิคการผ่อนคลาย และไคโรแพรคเตอร์ สำหรับในประเทศไทยแม้จะยังไม่มีการเก็บข้อมูล แต่จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของผู้เขียน ประมาณว่ามากกว่า 60% ของผู้ป่วยจะต้องได้รับบริการการนวดมาแล้วไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

ความหมายของการนวด
ลูซินด้า ลิเดล (Lucinda Lidell. 1995 : 12) ได้ให้ความหมายของการนวดว่า หมายถึงการแบ่งปันระหว่างการสัมผัส คือ มือ ร่างกาย ศีรษะ มือ หรือเท้า

ประเวศ วสี (2531 : 15) ได้กล่าวว่า "การนวด (massage) หมายถึง การใช้นิ้วมือทำการบีบนวดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยบำบัด ลดอาการเจ็บปวด ลดอาการบวม ซึ่งเกิดการเกร็งตัวของเอ็นกล้ามเนื้อหรือการคั่งของของเสียในเนื้อเยื่อ การคั่งของโลหิตใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยลดหรือแก้ไขอาการติดขัด ช่วยให้การติดขัดสามารถเคลื่อนไหวได้ ช่วยให้ผิวหนังเกิดความรับรู้ มีความรู้สึกดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อถ่ายเทของเสีย ทำให้การไหลเวียนของโลหิต น้ำเหลืองดีขึ้น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงรูปร่าง, รูปทรงที่ผิดปกติ และช่วยปรับปรุงระบบหายใจให้คล่องตัวขึ้น"

สรุปความหมายของการนวด
การนวดเพื่อสุขภาพ คือ ศิลปะในการรักษาที่ใช้สัญชาตญาณโดยใช้ปลายนิ้วมือ การกดลึก ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง ทำลายการแข็งตัวที่เกิดขึ้นในเส้นใยของกล้ามเนื้อ ช่วยลดและระงับความเจ็บปวดได้ โดยการนวด สามารถผ่านลงไปลึกจากผิวหนังถึงกล้ามเนื้อ หรืออาจจะถึงกระดูก และการนวดที่ดี ที่ประณีต จะกดลึกลงไปจนถึงจุดที่ถูกต้อง ซึ่งการนวดนี้เรียกกันว่า "การนวดแบบโอลิสติก" (oristic) หรือ "การนวดโดยสัญชาตญาณ" แต่จะเรียกกันให้ง่ายว่า "นวดเพื่อสุขภาพ"

การนวดเพื่อสุขภาพ ใช้รักษาคนไข้แต่ละคนในลักษณะโดยรวมมากกว่าที่จะเพ่งเล็งไปยังร่างกายแห่งใดแห่งหนึ่ง การเคลื่อนไหวในการนวดมักเชื่องช้ากว่า และใช้สมาธิมากกว่า สำหรับการนวดเพื่อสุขภาพ ทัศนคติและการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับมีความสำคัญสูงสุดต่อการรักษา"ผู้รับ" จะต้องผ่อนคลาย แต่ต้องตื่นตัวเพ่งอยู่ที่สัมผัสที่ได้รับ"ผู้ให้" หรือ "ผู้นวด"ก็จะต้องเพ่งและมีทัศนคติที่ดีในการรักษาด้วยการนวดอย่างสูงสุดเช่นกัน ส่วนผู้รับจะต้องรู้สึกเหมือนกับว่าการกดนวดเป็นการกระทำต่อเนื่องกันอย่างลื่นไหลและเป็นจังหวะไปโดยตลอดขณะทำการนวดให้คอยถามผลการนวดว่ารู้สึกดีหรือไม่ แต่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการสื่อสารด้วยวาจา เนื่องจากการพูดจะดึงสมาธิออกจากมือ การกดยิ่งช้าและเป็นจังหวะมากเท่าใด ก็จะทำผู้ถูกนวดรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น

ผลดีของการนวด
ทางร่างกาย การนวดทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายหายตึง ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น เพิ่มระดับฮีโมโกลบิน การไหลเวียนของน้ำเหลืองสะดวกขึ้น และช่วยยึดข้อต่อกระดูก

ทางจิตใจ นอกจากการนวดจะช่วยลดความเครียดและความกระวนกระวายแล้ว ยังช่วยเพิ่มสติสัมปชัญญะให้อีกด้วย โดยเฉพาะตามส่วนของร่างกายที่เคยมีความรู้สึกว่า "ขาดตอน" เมื่อท่านทราบว่ามีการขาดตอนอยู่ที่ใดแล้ว ท่านก็สามารถที่จะปรับปรุงร่างกายให้ดีขึ้น และสามารถสร้างภาพลักษณ์ของตนเพื่อลบล้างจุดอ่อนนั้นได้ มีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อความสุขและสุขภาพของตนเองการนวดทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นและเกิดความสำราญ การนวดสามารถช่วยให้มีการระบายพลังที่เสียเพราะความเครียดออกไป และเปลี่ยนนิสัยอันเป็นกิริยาและปฏิกิริยาซึ่งเป็นนิสัยเรื้อรังได้การนวดก่อให้เกิดผลดีต่อกิริยาท่าทางและการแสดงสีหน้า ในการนวด อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อสภาวะจิต เป็นการยากที่จะบรรยายถึงผลที่ได้จากการนวด เพราะเป็นการพูดถึงสิ่งที่อยู่ภายใน คือ "พลังชีวิต" โดยรวมส่วน แทนที่จะกล่าวอย่างแยกส่วนสำหรับการนวดเพื่อสุขภาพ สิ่งที่ทั้งผู้ให้และผู้รับจะได้ก็คือ "สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน" คือการทำให้เกิดความชำนาญในการเจริญสมาธินั่นเอง

ชวลิต ทัศนสว่าง (2530 : 15) ได้กล่าวไว้ว่า หลังจากออกกำลังแล้ว คนส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะต้องประสบกับการเจ็บทั่ว ๆ ไป หรือเฉพาะบางแห่ง กล้ามเนื้อที่เจ็บอาจมีอาการบวมขึ้น บางทีมีความรู้สึกเหมือนกล้ามเนื้อขมวดปม ซึ่งเรียกว่าการหดเกร็ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นใยของกล้ามเนื้อที่เมื่อยล้าพันกันยุ่งเหยิงและหดตัวอีกด้วยการเกิดเยื่อใยเหนียวหรือแข็งตัว เกิดขึ้นที่ปลายของกล้ามเนื้อ ซึ่งเส้นใยของกล้ามเนื้อไม่ค่อยได้ถูกใช้งานมากนักเพราะฉะนั้นจึงมีความยืดหดตัวได้น้อย เมื่อกล้ามเนื้อพักตัวอยู่จะไม่อยู่เป็นรูปร่างที่ดี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการเมื่อยล้า เมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อไม่มี ไกลโคลเจน และประกอบกับมีการสะสมสารเคมีที่เกิดจากการออกกำลังกายทำให้ไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้อาจเกิดจากเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาดเนื่องจากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้รับการรักษาบำรุงตามที่ต้องการในบางครั้งเส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้จะป้องกันตัวเองโดยการบิดไปรอบๆซึ่งกันและกันคล้ายกับหนังยางที่พันกัน การแข็งตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อจะดึงรั้งเส้นใยของกล้ามเนื้อ จนกระทั่งหดตัวสั้นอย่างรุนแรง นั่นคือทำให้มีการดึงและมีการฉีกขาดเกิดขึ้นการนวดคลายซึ่งทำเป็นประจำจะช่วยดึงขมวดปมของกล้ามเนื้อให้ออกไปได้บ้าง แต่ไม่สามารถเปรียบได้กับพลังการนวดในการแผ่กระจาย และบรรเทากล้ามเนื้อที่เมื่อยล้า การนวดลึก ๆ โดยการบีบ จะช่วยแยกเส้นใยของกล้ามเนื้อออกจากกัน

การนวดมีแนวคิดอย่างไร
การนวดเป็นศิลปะการรักษาที่ใช้สัญชาติญาณ โดยใช้ปลายนิ้วมือเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนมาแล้ว ที่การนวดและเทคนิคต่าง ๆ ได้นำมาใช้สร้างความสุข และให้ผลบางอย่างในการรักษา ในการที่จะให้ประสบผลสำเร็จทางอายุรเวทย์ จะต้องมีวิธีการนวดโดยเฉพาะ และเป็นไปตามลำดับ

การนวดเริ่มต้นด้วยการสัมผัส ไม่ว่าการนวดนั้นจะใช้เวลา 15 หรือ 60 นาที การสัมผัสทำให้ช้าลงและสามารถกำหนดจังหวะของการนวดได้ จากนั้นจึงใช้การกดซึ่งผ่อนคลาย ไม่เพียงแต่บริเวณที่กำลังนวดอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการผ่อนคลายร่างกายทั้งหมดด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นการนวดโดยการกดลึกและการบีบนวด เพื่อปลดปล่อยความเครียดที่อยู่ในกล้ามเนื้อ การบีบนวด เป็นการเปิดกล้ามเนื้อแล้วจึงใช้การนวดที่ใช้แรงขัดสีเพื่อผ่อนคลายความเครียดที่ลึกลงไปอีก การเตรียมร่างกายด้วยวิธีนี้ เป็นสิ่งที่ได้เปรียบ เนื่องจากหากอบอุ่นกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเมื่อนวดถู ท้ายสุดให้จบการนวดด้วยการกดและจับร่างกายไว้ เช่นเดียวกับที่เราเริ่มต้นในครั้งแรก การนวดตามขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่ใช้สามัญสำนึกเท่านั้น แต่ยังเป็นการนวดเพื่อสุขภาพและการนวดเพื่อการรักษาด้วย ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของวิวัฒนาการของมนุษย์จะเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะใช้การสัมผัส การบีบ การนวด เมื่อเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อหรืออาการไม่สบายตัว โดยสมัยเริ่มแรกนั้น เมื่อเจ็บปวดตรงไหนก็จะบีบนวด คลึงบริเวณที่เจ็บปวด โดยไม่มีการสอน เป็นการเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ ต่อมามนุษย์ได้เริ่มจดจำ และจัดระบบการสัมผัสขึ้นและเรียนรู้ถึงการกดลูบอย่างไรให้รู้สึกสบายขึ้น จนกลายเป็นการนวดที่เป็นแบบแผนแน่นอน


ความเป็นมาของการนวดเพื่อสุขภาพ
สมบัติ ตาปัญญา (2538 : 17) ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่า การนวดอย่างมีแบบแผนเริ่มมีบันทึกไว้ตั้งแต่ราว 5,000 ปีมาแล้วในตำราวิชาแพทย์จีนในแผ่นดินจักรพรรดิฮ่วงตี้ และคัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย ซึ่งมีอายุประมาณ 3,800 ปี ก็ได้กล่าวถึงการนวดไว้ว่า เป็นการ "ช่วยให้ร่างกายรักษาตนเอง" โดยใช้น้ำมันทาถูไปตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ ฮิปโปเครติส ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิชาแพทย์" ของโลกตะวันตก ได้กล่าวถึงการนวดไว้ว่า "แพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญในหลายสิ่ง แต่ที่แน่นอนอย่างยิ่งคือต้องมีความเชี่ยวชาญในการนวดด้วย" ในเอกสารทางการแพทย์ของอียิปต์ เปอร์เซีย และญี่ปุ่น ก็ได้มีการกล่าวถึงคุณประโยชน์ของการนวดในการรักษาโรคต่าง ๆ ไว้มากมายเช่นเดียวกัน

การนวดบางวิธี หรือการวางมือเพื่อบำบัดบรรเทาอาการเจ็บป่วย เป็นวิธีการที่กระทำกันมานับเป็นพัน ๆ ปีแล้ว แพทย์กรีกและโรมันในสมัยโบราณใช้การนวดเป็นหลักใน การบำบัดและบรรเทาอาการปวด เมื่อต้นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) "บิดาแห่งการแพทย์" เขียนไว้ว่า "แพทย์ต้องชำนาญในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการถูนวด เพราะว่าการถูนวดสามารถเชื่อมข้อที่หลวมให้แน่นขึ้นได้ ข้อที่ หลวมทำให้เกิดการแข็งเกร็งมากเกินการณ์"

ไพลนี (Plyny) นักธรรมชาติวิทยาชาวโรมัน นวดตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อบรรเทาอาการหอบหืด
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar.) ผู้เป็นโรคลมบ้าหมู ต้องนวดตัวเองไปทั่วทั้งตัวทุก ๆ วัน เพื่อบรรเทาการวูบหรือชักจากโรคลมบ้าหมู และเพื่อบรรเทาอาการปวดประสาท หรือปวดศีรษะ (พิสิฐ วงศ์วัฒนะ. 2539 : 11)
เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงไป คริสต์ศตวรรษที่ 5 ความก้าวหน้าในวงการแพทย์ทางยุโรปเป็นไปน้อยมาก แต่พวกอาหรับกลับเจริญกว่าอะวิ เซนนา (Avisenna) นักปรัชญาและแพทย์ชาวอาหรับ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 บันทึกไว้ใน "บัญญัติ" ของตนว่า วัตถุประสงค์ของการนวด คือ "เพื่อขจัดของเก่าที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่สามารถขจัดไปได้โดยการออกกำลังกาย"ในยุโรป (ช่วงยุคกลาง) การนวดได้เสื่อมความนิยมลงไป เนื่องด้วยผู้คนหันไปนิยมสิ่งปรุงแต่งกันมากกว่า แต่การนวดก็กลับพื้นคืนชีพขึ้นมาได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนใหญ่ฟื้นฟูโดยแพทย์ชาวฝรั่งเศสจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แพร์ เฮนริก ลิง (Parr Henrik Ling) ชาวสวีเดน ได้พัฒนาการนวดแบบสวีดิชขึ้น โดยรวบรวมระบบที่ได้จากความรู้ในเรื่องยิมนาสติกสรีรวิทยาและจากเทคนิคของจีน อียิปต์ กรีก และโรมัน (พิสิฐ วงศ์วัฒนะ. 2539 : 12)
ในปี พ.ศ. 2356 วิทยาลัยแห่งหนึ่งในสต๊อกโฮล์ม ได้บรรจุวิชาการนวดไว้ในหลักสูตรและจากนั้นสถาบันอื่น ๆ รวมทั้งเมืองตากอากาศทั้งหลายที่มีบ่อน้ำแร่ทั่วทั้งยุโรปก็ได้นำเอาการนวดเข้าไปประกอบในกิจการทุกวันนี้คุณค่าของการบำบัดรักษาด้วยการนวดได้กลับมาเป็นที่ยอมรับกันอีกครั้ง และกำลังเป็นที่เฟื่องฟูและพัฒนากันไปทั่วโลก ทางด้านตะวันตกมีทั้งบรรดามือสมัครเล่นและมืออาชีพ ส่วนทางตะวันออก กรรมวิธีการนวดเป็นที่ยอมรับกันมากกว่าทางด้านตะวันตก วิชาการดังกล่าวได้รับการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการขาดตอนความแตกต่างระหว่างตะวันออกกับตะวันตกนี้ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิรูปทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดทางด้านตะวันตกเมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้วมาผลของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ดังกล่าว ทำให้ความเชื่อเก่า ๆ ที่เกี่ยวเนื่องระหว่างกายกับใจและจิตถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และในช่วงนั้นเองก็เกิดความยึดติดขึ้นใหม่ว่า ร่างกายมนุษย์เป็นแต่เพียงเครื่องจักกลอันสลับซับซ้อนเท่านั้น สามารถตรวจสอบและซ่อมบำรุงได้ก็แต่เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างสูง และผู้ที่มีความสามารถโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งก็คือ "แพทย์"ทางด้านตะวันออกไม่ได้มีสำนึกที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์" บังเกิดขึ้น สำนึกดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้เอง ผู้คนในประเทศที่ยากจนเหล่านั้นจึงยังดำเนินการต่อมา โดยรวมเอาความปรารถนาซึ่งเกิดขึ้นได้จากสัญชาตญาณว่า "นวดดีกว่า" อาศัยความชำนาญที่ได้กลั่นกรองมาแล้วและได้พิสูจน์มาแล้วว่าได้ผล และให้เป็นหน้าที่ของ "หมอเท้าเปล่า" เป็น ผู้รับผิดชอบไปในฐานะมีความรู้ทางทฤษฎีการแพทย์ตะวันออก มีความรู้ในวิชาหมอกลางบ้าน และเทคนิคการใช้มือ นอกจากนี้ยังมีวิธีนวดแบบ "ชิอัตซุ" (Shiatsu) มีรากฐานมาจากรูปแบบการนวดดังกล่าว เป็นการนวดแบบญี่ปุ่น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย อิทธิพลของทฤษฎีการฝังเข็ม และด้วยอิทธิพลของการรักษาทางวิทยาศาสตร์ตะวันตก คือ การรักษาโรคด้วยวิธีนวดกระดูก การรักษาโรคมือและเท้า ซึ่งเพิ่งเข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่น


รูปแบบของการนวด
1. นวดแผนไทย
นวดแผนไทย เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีหลักการ ประกอบกับบรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติของสถานที่ ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบการนวดได้เป็น

2. นวดผ่อนคลาย
การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบฉบับของแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย และจิตใจ คือตั้งแต่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ตึงล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย

3. นวดจับเส้น
การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา

4. นวดน้ำมัน
การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ พร้อมกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น คลายเครียดด้วยกลิ่นหอมเฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่างไม่ให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน ช่วยสลายไขมันไม่ให้สะสมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย และความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวดจะซึมซาบลึกเข้าไปผิวหนัง และกล้ามเนื้อช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว

5. นวดฝ่าเท้า/นวดเท้า
การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้า และเท้า การนวดฝ่าเท้า และเท้า จึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

6. นวดสปอร์ท
การนวดคลายกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเนื่องจากการออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้าตามกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดตระคริว

ที่มา ;
http://203.172.163.147/stu/23246/2.html
http://www.superbk3.net/jarin/menu_b4.html
http://th.88dbmedia1.jobsdb.com
http://content.mthai.com/upload_images/beauty/DSC_0882.jpg
http://www.vibhavadi.com/backend/deptimages/dept43img1.jpg

การขับสารพิษ(Chelation therapy)

การขับสารพิษ(Chelation therapy) ฯลฯ
คีเลชั่นทางเลือกเพื่อการบำบัด ที่คุณเลือกได้

คงจะรู้กันมาบ้างแล้วว่าการล้างสารพิษที่หมักหมมในตัวออกไป จะทำให้ร่างกายแข็งแรงเลือดลมเดินสะดวก ถ้าทำเป็นประจำก็จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและรักษาโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หอบหืด เบาหวาน รวมทั้งลดความอ้วนได้ด้วย

การล้างพิษในร่างกาย คือการบำบัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาอาการและโรคที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการที่ร่างกายมีสารโลหะหนักสะสมในร่างกาย ที่เรียกว่า Chelation

ปัจจุบัน มลพิษในอากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัว เนื่องจากปริมาณสารพิษต่างๆ ที่ปล่อยออกมาจากโรงงาน และไอเสียรถยนต์ ตลอดจนโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งและหัวใจ ต่างพบว่ามีจำนวนของสารพิษจากโลหะหนักในเลือดสูงแทบทั้งสิ้น เช่นระดับสารตะกั่วในกระดูกสูงกว่าระดับปกติ 1000% ในผู้ป่วยมะเร็ง และคนไข้โรคหัวใจจะมีระดับสารพิษของโลหะหนักสูงกว่าคนปกติถึง 20,000 เท่า

Chelation จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการล้างหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าอก เปลี่ยนหรือบายพาสหัวใจ และเป็นทางเลือกสำหรับโรคที่ผลต่อเส้นเลือด เช่นโรคเบาหวาน โรคความดัน หรือแม้แต่โรคมะเร็ง

หลักการการบำบัดแบบ Chelation therapy
โดยปกติร่างกายมนุษย์สามารถขับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกายได้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เนื่องจากปัจจุบันเราได้รับสารพิษที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมี และธาตุโลหะหนักที่มากขึ้นหลายเท่าจากอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถขับออกเองได้ทั้งหมด

การทำ Chelation Therapy คือการล้างสารพิษจากธาตุโลหะหนัก ซึ่งมีทั้งสารตะกั่ว สารปรอท สารธาตุเหล็ก ARSENIC แคดเมี่ยม และอื่นๆ ร่างกายเราได้รับสารพิษเหล่านี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ สารพิษเหล่านี้ถูกสะสมในส่วนต่างๆ และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคออร์ทิสติก, พาร์กินสัน, โรคสมาธิสั้นและไฮเปอร์, โรคเกี่ยวกับภูมิต้านทาน, โรคหัวใจ, อัลไซเมอร์, และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบกพร่อง

การล้างพิษหรือ Chelation Therapy เป็นการล้างพิษแนวใหม่ โดยใช้วิธีการฉีดเข้าเส้นเลือด ร่วมกับการรับประทานเพื่อช่วยขับสารพิษเหล่านี้ออกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษา (และเสริมการรักษา) โรคต่างๆ เช่น พิษโลหะหนัก สารพิษอื่นๆ ตกค้าง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดตีบตัน โรคภูมิแพ้ โรคปวดข้อ โรคมะเร็ง เป็นต้น

การใช้สารเคมีชื่อ EDTA (Ethyline Diamine Tetra Acetic Acid) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ของ กรดอะมิโนผสมกับน้ำเกลือและให้ทางเส้นเลือด เพื่อรักษาการเกิดการอักเสบหรือการทำงานผิดปกติของเซลล์ในผนังของหลอดเลือด โดยสาร EDTA จะไปจับกับสารที่เป็นพวกโลหะหนักที่เป็นพิษ ซึ่งสะสมอยู่ในเซลล์ของผนังหลอดเลือด สารโลหะหนักพวกนี้ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม และสารแร่ธาตุที่ใช้ในร่างกาย ซึ่งมาจับผิดที่ในเซลล์หลอดเลือด เช่นเหล็ก ทองแดง การสะสมของโลหะหนักบนเซลล์บุภายในของผนังหลอดเลือด ก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระบนผนังเซลล์ โคเลส เตอรอลจึงมาจับบนผนังหลอดเลือด ทำให้รูหลอดเลือดตีบลง

เมื่อทำการ Chelation สาร EDTA จะไปจับตัวกับสารโลหะหนักและละลายออกมาในเส้นเลือดและถูกขับออกไปทางไต การจับตัวของโคเลสเตอรอลจะค่อยๆ ถูกร่างกายกำจัดให้ลดลง ผนังเซลล์ของหลอดเลือดก็จะดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดมีปริมาณมากขึ้น อาการกล้ามเนื้อหัวใจหรืออวัยวะอื่นที่ขาดเลือดดีขึ้น เช่นสมอง ซึ่งจะทำให้ความจำดีขึ้น ในคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศก็ดีขึ้นมาได้

Chelation Therapy ไม่ใช่ของใหม่ ได้มีคนใช้มานานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเยอรมันนีเป็นประเทศแรกที่นำมาใช้เพื่อขับสารหนู (Arsenic) ออกจากร่างกาย Chelation จึงเป็นการบำบัดทางเลือกหนึ่งซึงประหยัด ปลอดภัย และคุ้มค่า

เอกสารอ้างอิง
๑. http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00021.asp
๒.http://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=18801
๓. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/downloads/NokHomeo.pdf
๔. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=471
๕. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=60270

Bio-molecular therapy

Bio-molecular therapy
การแพทย์ชีวโมเลกุล : ความหวังใหม่ในการเอาชนะความเสื่อมของร่างกาย


มนุษย์เราเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมจะต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย และต้องตายเป็นธรรมดา แต่กว่าจะตายหรือหมดอายุขัย บางทีเราต้องทนทุกข์ทรมาน กับการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ นานนับเดือนนับปี เพราะอวัยวะต่างๆ เสื่อมไปอย่างไม่ย้อนคืนเป็นเวลานานมาแล้ว ที่เราพยายามต่อสู้กับความแก่และความเจ็บป่วยแม้จะรู้ว่าในที่สุดต้องพ่ายแพ้ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพสักหน่อย ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากจนเกินไปนักร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายมหาศาล เซลล์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นอวัยวะ แล้วทำหน้าที่ต่างๆ กัน เมื่อคนอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะค่อยๆ เสื่อมลงไป เซลล์เหล่านี้บางส่วนก็ตายไปบ้าง ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังไม่ตาย แต่ไม่สามารถทำงานได้ เปรียบกับแบตเตอรี่รถยนต์ที่น้ำกรดแห้ง ก็จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อมีเซลล์ที่เสื่อมและหยุดทำงานมากขึ้น ก็ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ


Biomolecular Therapy คืออะไร ?
หลักการของ Biomolecular Therapy คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุคือ โดยการซ่อมแซม Cell ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจาก Cellนั้นๆ

Biomolecular Therapy เป็นการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่างๆ โดยมีหลักการรักษาด้วยการใช้ เซลล์ซ่อมเซลล์ (การซ่อมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนอยู่ภายใน cytoplasm ของเซลล์ เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือการซ่อมเซลล์ที่เสื่อมสภาพโดยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจากเซลล์นั้นๆ) แนวคิดของวิชานี้เริ่มมาเมื่อประมาณ 500 ปีมาแล้ว จากนักวิทยาศาสตร์ ชื่อพาราเซลซัส (Paracelsus) ซึ่งเชื่อในหลักการว่า Life heals Life สิ่งที่เหมือนกันจะเข้าไปรักษากัน

ใครเป็นคนริเริ่มการรักษาวิธีนี้?
ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ Paul Niehans (ค.ศ. 1931) ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เป็นผู้ค้นพบวิธีการรักษาด้วยเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ Dr. Niehans เป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางระบบต่อมไร้ท่อ และได้ศึกษาวิธีปลูกถ่ายต่อมไร้ท่อ มาเป็นเวลาหลายปี ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1931 Dr. Niehans ได้รับคนไข้ฉุกเฉินคนหนึ่ง ซึ่งมีอาการ กล้ามเนื้อชักเกร็ง เนื่องจากเธอถูกทำลายต่อม parathyroid จากการผ่าตัด

เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินและไม่สามารถทำ Endocrine transplant ได้ทันที Dr. Niehan จึงตัดสินใจ นำ parathyroid gland จากสัตว์ มาบดในน้ำเกลือ แล้วนำน้ำที่ได้ฉีดเข้ากล้าม โดยทำภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงนับจากนำต่อมพาราไทรอยด์ออกจากสัตว์ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการใช้เซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ในที่สุดผู้ป่วยหายจากการชักเกร็ง ตั้งแต่วันนั้น และต่อมาอีก 25 ปีหลังจากนั้น

ตั้งแต่นั้นมา การรักษาด้วย Living Cell จึงได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป โดยเฉพาะที่ประเทศเยอรมัน และเมื่อองค์การอาหารและยาของประเทศเยอรมัน ให้การรับรองการรักษานี้แล้ว ก็ได้มีผู้ป่วยคนสำคัญๆ ได้รับอานิสงส์จากความสำเร็จของ Living Cell Therapy มากมายทั้งจากในยุโรปเอง และจากสหรัฐอเมริกาก็ได้เดินทางมารับการรักษาที่ Sanatorium ในเยอรมันหลายท่าน เช่น ประธานาธิบดี Konrad ADENAUER, Theodor HEUSS, POPE PIUS XXII, Winston CHURCHILL, Chale DE GAULLE, Dwight D. EISENHOWER, Charles CHAPLIN, สมเด็จพระจักรพรรด์ญี่ปุ่น กษัตริย์ Morocco, กษัตริย์ ซาอุดิอาราเบีย กษัตริย์เยเมน และบุคคลสำคัญอื่นๆอีกหลายคน

ส่วนการรักษาที่เรียกว่า Biomolecular Therapy นั้น ก็ได้พัฒนามาจาก Living Cell Therapy ของ Dr. Niehan นั่นเอง เนื่องจากการรักษาด้วยวิธี Living Cell Therapy นับว่ายุ่งยากมากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจนคนธรรมดาแทบจะไม่มีโอกาสได้รับการรักษา เพราะ Cell ทุก Cell ต้องผ่านการควบคุมคุณภาพจากรัฐบาลว่าปกติและปลอดภัยจากเชื้อ ตาม Standardของ Transplantationทุกประการ

เป็นที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันนี้แม้คนธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงและไม่ได้มีเงินทองมากมาย ก็ไม่ต้องท้อแท้ใจว่าจะไม่มีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีมากกับแม้กระทั่งโรคที่สิ้นหวังแล้ว ทั้งนี้เพราะ ศาสตราจารย์นายแพทย์ Karl THEURER ได้พัฒนา Biomolecular Therapyขึ้น

THEURER เชื่อว่าความสำเร็จของ Fresh Cell Transplantation มิได้เกิดจาก Cell โดยตรง แต่เกิดจาก activity ของ molecule ต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ และเพื่อที่จะขจัดความกลัวของแพทย์ทั่วๆ ไปที่เกรงว่า Fresh Cell Transplant อาจก่อให้เกิด severe allergic reaction หรือ immune sensitization ที่รุนแรง (ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การแพ้ไม่เคยเกิดกับ Cell Therapy) ดังนั้น ภายหลังจากการการศึกษาและทดลองอย่างหนัก THEURER จึงพัฒนาวิธีการรักษาสภาพของ molecular cell component ได้สำเร็จโดยวิธี Acid-vapour-lysis ต่อ Lyopphylized organ powderในสุญญากาศซึ่งวิธีการนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ไม่สามารถทำเลียนแบบได้

การนำเซลล์มาทำ Lyophylized นอกจากจะทำลายเชื้อทุกชนิดแล้ว จะทำให้เซลล์สูญเสียลักษณะเฉพาะทาง สปีชี่ส์ของเซลล์ กล่าวคือระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ยังคงสภาพทางด้านความจำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะไว้อยู่อย่างครบถ้วน กล่าวคือ Lyophylized ที่ได้จาก cell ของอวัยวะหนึ่ง ก็จะไปรักษาอวัยวะนั้นๆ อย่างจำเพาะเจาะจง ทำให้นอกจากได้ผลในการรักษาแล้วยังปลอดภัยมากๆอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
๑. http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00021.asp
๒.ttp://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=18801
๓. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/downloads/NokHomeo.pdf
๔. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=471
๕. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=60270

โฮมิโอพาที(Homeopathy)

สารชีวภาพอื่นๆ

โฮมิโอพาที(Homeopathy)
โฮมิโอพาที : ทางเลือกรักษาโรค

บางท่านคงจะเคยคุ้นหรือได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้เรื่องราวความเป็นมาของการบำบัดรักษาในแขนงนี้ เพราะฟังชื่อก็แปลกๆ กว่าการรักษาที่เราเคยได้ยินในทุกวันนี้ ถ้าอย่างนั้นลองมาดูความเป็นมาของการรักษาแบบนี้กันดีกว่า

โฮมีโอพาธี เป็นการมองร่างกาย และจิตใจผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน แตกต่างจากแพทย์แผนปัจจุบันที่รักษาโรคตามอาการ ดังนั้นก่อนจะบำบัดผู้ป่วย จะต้องมีการสัมภาษณ์ พูดคุยในเรื่องทั่วไป เช่น บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึก เป็นต้น จากนั้นถึงประมวลออกมาเป็นภาพอาการรวม และทำการบำบัดรักษาต่อไป

การบำบัดด้วยโฮมีโอพาธีนับเป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย มีคนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่รู้จักและคุ้นเคยกับการบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวการบำบัดด้วยโฮมีโอพาธีเป็นการบำบัดที่กองการแพทย์ทางเลือกนำมาศึกษาอยู่ในลำดับต้นๆ เนื่องจากการบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวมีความน่าสนใจในแง่ของการศึกษาหลายๆด้าน ทั้งในแง่ขององค์ความรู้ ความเหมาะสมและศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อของประเทศ ความแพร่หลายและความนิยมในการนำไปใช้ทั่วโลก รวมทั้งกำลังเป็นปัญหาในประเด็นของผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในขณะนี้ด้วยความเหมาะสมหลายประการดังกล่าวในข้างต้น จึงทำให้กองการแพทย์ทางเลือกนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาศึกษา รวบรวมและขยายความเป็นภาษาไทย เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์แก่บุคคลที่มีความสนใจได้อย่างสูงสุด

ประวัติความเป็นมาของโฮมีโอพาธี
คำว่า Homeopathy มีรากศัพท์มาจาก Homeo ซึ่งแปลว่า เหมือนหรือคล้าย และคำว่า patho ซึ่งแปลว่าโรค ศาสตร์แขนงนี้มีมานานกว่า 200 ปี ค้นพบโดย นายแพทย์ Samuel Hahnemann (1755 - 1843) ชาวเยอรมัน จึงทำให้เกิดทฤษฎีที่เรียกว่า law of similars หรือ like cure like คือ สารใดๆ ก็ตาม เช่น พืชสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ เกลือ แร่ธาตุ หรือผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากสัตว์ สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนั้นจึงได้นำสารเหล่านั้นมาทำการรักษาในโรคลักษณะเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ แล้ว homeopathy จะเป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่เกิดภาวการณ์แพ้ยาหรือสารเคมีใดๆ

ความหมายของโฮมีโอพาธี
การบำบัดรักษาแบบ Homeopathy ถ้าอธิบายกันง่ายๆ ก็คือ การรักษาแนวธรรมชาติบำบัดวิธีหนึ่งที่อยู่ในสาขาแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เหมือนกับ การฝังเข็ม การกดจุดบำบัดโรค หรือ แม็คโครไบโอติก ซึ่งการรักษา Homeopathy ก็ได้ผ่านการรับรองแล้วจากทั้งในและต่างประเทศ

ทฤษฎีของการบำบัด
การบำบัดแบบโฮมีโอพาธี(ดั้งเดิม) มีทฤษฎีพื้นฐานอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

1. ต้องมีการพิสูจน์ฤทธิ์หรือพิษของสารที่จะนำมาใช้เป็นยาแบบโฮมีโอพาธีในคนปกติ ก่อนกล่าวคือ ก่อนที่จะพัฒนาสารแต่ละชนิดขึ้นมาเป็นตำรับยาแบบโฮมีโอพาธีนั้นต้องมีการนำไปทดลองในคนปกติที่มีสุขภาพดีก่อนเพื่อให้ทราบถึงอาการหรือพิษที่แน่ชัดที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานสารนั้น ๆ เข้าไป ยกเว้นในกรณีที่เราทราบพิษที่แน่ชัดของสารนั้น ๆ อยู่แล้ว

2. การเลือกและการจ่ายยาต้องเป็นไปตามกฎของความเหมือน (Law of Similars) กฎของความเหมือน (Law of Similars) เป็นหัวใจพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการบำบัด ผู้ป่วย กล่าวคือ การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีนั้นเป็นการนำเอาพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุใด ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการนั้น ๆ ในคนธรรมดามารักษาอาการดังกล่าวแก่คนป่วย (like cures like or simila similibus curantur) หรืออาจกล่าวง่าย ๆ แบบภาษาไทยว่า “หนามยอกให้เอาหนามบ่ง”

3. การให้ยาเพื่อการบำบัดต้องเป็นยาตำรับเดี่ยว (Single Remedy)
ตำรับเดี่ยว (Single Remedy) หมายถึง การบำบัดผู้ป่วยนั้นห้ามให้ยาหลาย ๆ ตำรับ พร้อม ๆ กันเนื่องจากการให้ยาหลาย ๆ ตำรับพร้อมกันอาจก่อโรคหรืออาการใหม่ ๆ ขึ้นได้และเป็นการยากที่จะบอกว่าตำรับยาที่เราให้นั้นตำรับไหนถูกต้องกันแน่ ดังนั้นในการบำบัดแต่ละครั้งจะให้ยาเพียงตำรับเดียวเท่านั้นแต่อาจมีการให้ซ้ำ (หลายขนาด) อีกได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตำรับและอาการของโรค ทั้งนี้การเลือกตำรับยามาใช้ต้องเลือกให้มีความคล้ายกับภาพของอาการมากที่สุด

4. การให้และการเตรียมยาต้องเป็นไปตามกฎขนาดน้อย (Law of Minimum Dose) ในช่วงปีแรกของการค้นพบการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีของฮาห์เนมานน์นั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาเตรียมเป็นยาแบบโฮมีโอพาธีนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นสารพิษ ดังนั้นการนำมาใช้จึงต้องมีการทำละลายให้เจือจางเพื่อลดความเป็นพิษของสารลง ปีค.ศ.1798 เป็นครั้งแรกที่ฮาห์เนมานน์เริ่มทำละลายให้สารที่นำมาใช้เจือจางลง จนกระทั่งปีค.ศ.1813 ฮาห์เนมานน์พิมพ์หนังสือเรื่อง “Spirit of Homeopath” ซึ่งเป็นการอธิบายแนวคิดเรื่องของสุขภาพ การรักษาและฤทธิ์ของยาตามหลักการของโฮมีโอพาธี จากนั้นจึงมีการพัฒนาวิธีการทำละลายยาให้เจือจางเรื่อยมาและกลายเป็นกฎขนาดน้อยดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ต้องมีการนำวัตถุดิบที่จะมาเตรียมเป็นยามาทำเป็นสารตั้งต้น (Mother Tincture)ก่อน และจากนั้นจึงนำสารตั้งต้นนั้นมาทำละลายให้เจือจางโดยเรียกกระบวนการนี้ว่า “การเพิ่มความแรง” (Potentisation/Potentization) นั่นคือยิ่งทำให้เจือจางมากเท่าไหร่ความแรงของยาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น วิธีการเตรียมยาดังแสดงในรูปที่แสดงด้านล่าง และในการทำให้เจือจางแต่ละครั้งต้องมีการเขย่าร่วมด้วย (ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า shaking vigorously) ซึ่งความเข้มข้นหรือความแรงตามหลักสากลของยาโฮมีโอพาธีจะถูกกำหนดด้วยจำนวนครั้งของการทำให้เจือจาง โดยความแรงที่กำหนดเป็นหลักสากล ที่นิยมใช้มีดังนี้
1. ที่ความแรง 10 (Decimal-potency or D-potency) เท่า เป็น 1:10 เช่น ยาที่ความแรง D1มีสารตั้งต้นอยู่ 1 ส่วน มีตัวทำละลายอยู่ 9 ส่วนและผ่านการเขย่า 10 ครั้ง ยาที่ความแรง D2 เป็นการนำเอายาที่ความแรง D1 มา 1ส่วน ผสมกับตัวทำละลายอีก 9 ส่วนและผ่านการเขย่า 10 ครั้ง เป็นต้น (ดังรูปที่1) ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนได้ความแรงที่ต้องการและจะใช้ตัวเลขที่ความแรงนี้จนกระทั่งถึง D1000
2. ที่ความแรง 100 (Centestimal-potency or C-potency) เท่า เป็น 1:100 หลักการก็จะเหมือนกันกับที่ความแรง 10 เท่า เช่น ที่ความแรง C1 มีสารตั้งต้น 1 ส่วน มีตัวทำละลายอยู่ 99 ส่วนและผ่านการเขย่า 100 ครั้ง เป็นต้น

ซึ่งถ้าเป็นการทำให้เจือจางตามหลักการของ Korsakoff-Potency หรือ one glass method คือใช้แก้ว/ภาชนะใบเดียวในการเตรียมยา กล่าวคือ จะใช้แก้วใบเดิมทุกครั้งในการทำละลาย จะใช้อักษรย่อว่า K เช่น 10K 30K เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการทำให้เจือจางแบบ Centestimal Hahnemanni หรือ CH-potency หรือ multiple-glass method กล่าวคือ ในการเตรียมยาแต่ละครั้งจะใช้แก้วใบใหม่ทุกครั้งในการทำละลายครั้งใหม่ จะใช้อักษรย่อว่า CH เช่น 20CH 30CH เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี ความแรงแบบ LM -(or –Q-) potency ซึ่งเป็นกฎที่ไม่นิยมใช้นักเพราะเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน มักจะใช้กับการทำละลายที่มีความแรงตั้งแต่ 1:50000 ขึ้นไป




รูป แสดงกระบวนการทำละลายให้เจือจางตามหลักการของโฮมีโอพาธี โดยตัวทำละลายที่ใช้จะเป็นน้ำกลั่น (Distilled water) หรือในบางตำรับอาจมีส่วนผสมของอัลกอฮอล์ร่วมด้วย หรือเป็นอัลกอฮอล์อย่างเดียวก็ได้ และจะมีการควบคุมคุณภาพของน้ำและอัลกอฮอล์ รวมทั้งตัวพา (vehicle) ที่จะนำเข้าสู่ร่างกายด้วย โดยตัวพาจะมีทั้งสถานะ ของแข็ง (เช่น เม็ดน้ำตาลจากนม จากอ้อย) ของเหลว (เช่น น้ำ อัลกอฮอล์ น้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ กลีเซอรีน) ของกึ่งแข็งกึ่งเหลว (เช่น วาสลีน ขี้ผึ้ง)


โดยสรุปการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาและเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลพลังไหลเวียนภายในร่างกาย ดังนั้นยาที่ให้แก่ร่างกายจึงมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาโรคหรือฆ่าเชื้อโรค แต่กลับเป็นการใส่พลังงานเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้พลังงานที่ผิดปกติอยู่แล้วผิดปกติมากขึ้นจนถึงระดับที่ร่างกายจะเกิดกระบวนการตอบสนองต่อความผิดปกตินั้น ซึ่งแนวคิดแบบนี้ได้มีอิทธิพลต่อระบบการแพทย์แผนปัจจุบันและกลายเป็นแนวคิดของการให้วัคซีนในยุคปัจจุบัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดตั้งแต่ระดับใต้อะตอม (Subatomic) ของเซลล์ (พลังงานเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับกายภาพ) ผลดีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมยาแบบโฮมีโอพาธีก็คือ ผลข้างเคียงจากยาต่ำมาก ไม่พบรายงานความเป็นพิษของยาดังกล่าว และยาที่จำหน่ายจึงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับราคายาปัจจุบัน



เอกสารอ้างอิง
๑. http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00021.asp
๒.ttp://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=18801
๓. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/downloads/NokHomeo.pdf
๔. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=471
๕. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=60270