วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

Bio-molecular therapy

Bio-molecular therapy
การแพทย์ชีวโมเลกุล : ความหวังใหม่ในการเอาชนะความเสื่อมของร่างกาย


มนุษย์เราเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมจะต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย และต้องตายเป็นธรรมดา แต่กว่าจะตายหรือหมดอายุขัย บางทีเราต้องทนทุกข์ทรมาน กับการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ นานนับเดือนนับปี เพราะอวัยวะต่างๆ เสื่อมไปอย่างไม่ย้อนคืนเป็นเวลานานมาแล้ว ที่เราพยายามต่อสู้กับความแก่และความเจ็บป่วยแม้จะรู้ว่าในที่สุดต้องพ่ายแพ้ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพสักหน่อย ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากจนเกินไปนักร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายมหาศาล เซลล์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นอวัยวะ แล้วทำหน้าที่ต่างๆ กัน เมื่อคนอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะค่อยๆ เสื่อมลงไป เซลล์เหล่านี้บางส่วนก็ตายไปบ้าง ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังไม่ตาย แต่ไม่สามารถทำงานได้ เปรียบกับแบตเตอรี่รถยนต์ที่น้ำกรดแห้ง ก็จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อมีเซลล์ที่เสื่อมและหยุดทำงานมากขึ้น ก็ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ


Biomolecular Therapy คืออะไร ?
หลักการของ Biomolecular Therapy คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุคือ โดยการซ่อมแซม Cell ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจาก Cellนั้นๆ

Biomolecular Therapy เป็นการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่างๆ โดยมีหลักการรักษาด้วยการใช้ เซลล์ซ่อมเซลล์ (การซ่อมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนอยู่ภายใน cytoplasm ของเซลล์ เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือการซ่อมเซลล์ที่เสื่อมสภาพโดยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจากเซลล์นั้นๆ) แนวคิดของวิชานี้เริ่มมาเมื่อประมาณ 500 ปีมาแล้ว จากนักวิทยาศาสตร์ ชื่อพาราเซลซัส (Paracelsus) ซึ่งเชื่อในหลักการว่า Life heals Life สิ่งที่เหมือนกันจะเข้าไปรักษากัน

ใครเป็นคนริเริ่มการรักษาวิธีนี้?
ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ Paul Niehans (ค.ศ. 1931) ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เป็นผู้ค้นพบวิธีการรักษาด้วยเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ Dr. Niehans เป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางระบบต่อมไร้ท่อ และได้ศึกษาวิธีปลูกถ่ายต่อมไร้ท่อ มาเป็นเวลาหลายปี ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1931 Dr. Niehans ได้รับคนไข้ฉุกเฉินคนหนึ่ง ซึ่งมีอาการ กล้ามเนื้อชักเกร็ง เนื่องจากเธอถูกทำลายต่อม parathyroid จากการผ่าตัด

เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินและไม่สามารถทำ Endocrine transplant ได้ทันที Dr. Niehan จึงตัดสินใจ นำ parathyroid gland จากสัตว์ มาบดในน้ำเกลือ แล้วนำน้ำที่ได้ฉีดเข้ากล้าม โดยทำภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงนับจากนำต่อมพาราไทรอยด์ออกจากสัตว์ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการใช้เซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ในที่สุดผู้ป่วยหายจากการชักเกร็ง ตั้งแต่วันนั้น และต่อมาอีก 25 ปีหลังจากนั้น

ตั้งแต่นั้นมา การรักษาด้วย Living Cell จึงได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป โดยเฉพาะที่ประเทศเยอรมัน และเมื่อองค์การอาหารและยาของประเทศเยอรมัน ให้การรับรองการรักษานี้แล้ว ก็ได้มีผู้ป่วยคนสำคัญๆ ได้รับอานิสงส์จากความสำเร็จของ Living Cell Therapy มากมายทั้งจากในยุโรปเอง และจากสหรัฐอเมริกาก็ได้เดินทางมารับการรักษาที่ Sanatorium ในเยอรมันหลายท่าน เช่น ประธานาธิบดี Konrad ADENAUER, Theodor HEUSS, POPE PIUS XXII, Winston CHURCHILL, Chale DE GAULLE, Dwight D. EISENHOWER, Charles CHAPLIN, สมเด็จพระจักรพรรด์ญี่ปุ่น กษัตริย์ Morocco, กษัตริย์ ซาอุดิอาราเบีย กษัตริย์เยเมน และบุคคลสำคัญอื่นๆอีกหลายคน

ส่วนการรักษาที่เรียกว่า Biomolecular Therapy นั้น ก็ได้พัฒนามาจาก Living Cell Therapy ของ Dr. Niehan นั่นเอง เนื่องจากการรักษาด้วยวิธี Living Cell Therapy นับว่ายุ่งยากมากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจนคนธรรมดาแทบจะไม่มีโอกาสได้รับการรักษา เพราะ Cell ทุก Cell ต้องผ่านการควบคุมคุณภาพจากรัฐบาลว่าปกติและปลอดภัยจากเชื้อ ตาม Standardของ Transplantationทุกประการ

เป็นที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันนี้แม้คนธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงและไม่ได้มีเงินทองมากมาย ก็ไม่ต้องท้อแท้ใจว่าจะไม่มีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีมากกับแม้กระทั่งโรคที่สิ้นหวังแล้ว ทั้งนี้เพราะ ศาสตราจารย์นายแพทย์ Karl THEURER ได้พัฒนา Biomolecular Therapyขึ้น

THEURER เชื่อว่าความสำเร็จของ Fresh Cell Transplantation มิได้เกิดจาก Cell โดยตรง แต่เกิดจาก activity ของ molecule ต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ และเพื่อที่จะขจัดความกลัวของแพทย์ทั่วๆ ไปที่เกรงว่า Fresh Cell Transplant อาจก่อให้เกิด severe allergic reaction หรือ immune sensitization ที่รุนแรง (ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การแพ้ไม่เคยเกิดกับ Cell Therapy) ดังนั้น ภายหลังจากการการศึกษาและทดลองอย่างหนัก THEURER จึงพัฒนาวิธีการรักษาสภาพของ molecular cell component ได้สำเร็จโดยวิธี Acid-vapour-lysis ต่อ Lyopphylized organ powderในสุญญากาศซึ่งวิธีการนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ไม่สามารถทำเลียนแบบได้

การนำเซลล์มาทำ Lyophylized นอกจากจะทำลายเชื้อทุกชนิดแล้ว จะทำให้เซลล์สูญเสียลักษณะเฉพาะทาง สปีชี่ส์ของเซลล์ กล่าวคือระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ยังคงสภาพทางด้านความจำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะไว้อยู่อย่างครบถ้วน กล่าวคือ Lyophylized ที่ได้จาก cell ของอวัยวะหนึ่ง ก็จะไปรักษาอวัยวะนั้นๆ อย่างจำเพาะเจาะจง ทำให้นอกจากได้ผลในการรักษาแล้วยังปลอดภัยมากๆอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
๑. http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00021.asp
๒.ttp://www.bangkokhealth.com/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=18801
๓. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/downloads/NokHomeo.pdf
๔. http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=471
๕. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=60270

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น