วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชี่กง การฝึกหายใจบำบัดโรค

ชี่กง...การฝึกหายใจบำบัดโรค

ชี่กง ฟังดูแล้วชวนให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายใน ซึ่งโดยความหมายก็ไม่แตกต่างจากที่คิดนักเพราะชี่กงก็มีต้นกำเนิดจากแผ่นดินใหญ่มากว่า 4,000 ปีก่อนพุทธกาลเสียอีก

หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ชี่กง" กันมาบ้าง แต่ก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
ชี่กง มีชื่อเสียงในเรื่องของสุขภาพมากว่า สามารถทำให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยบำบัดโรคได้หลายโรค อาทิ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง โรคติดเชื้อบางชนิด หรือแม้กระทั่งมะเร็งก็สามารถช่วยอาการจากโรคนี้ให้ดีขึ้น

ชี่กงคืออะไร
ชี่กงมาจากคำว่า"ชี่" หมายถึงพลังชีวิตซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนในรูปแบบที่แตกต่างกัน เรารับเอา ชี่ มาจากภายนอกโดยการกินอาหาร รับแสงแดด การหายใจ เป็นต้น "กง" คือการ กระทำที่นำไปสู่พลังชีวิต "ชี่กง" จึงหมายถึง การฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนพลังชีวิตในร่างกาย

ชี่กงคือ การบริหารร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ หายใจ เคลื่อนไหว สมาธิ หลักของชี่กงตรงกับระบบรักาาทางการแพทย์แบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย ดังนั้นในการฝึกชี่กง กายคือการเคลื่อนไหว จิตคือภาวะสงบ

ชี่กง มีความเป็นมาอย่างไร
ชี่กงหรือการฝึกหายใจมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในประเทศจีนได้ถูกบันทึกไว้ในตำรับตำราการแพทย์นับตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้ว และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแพทย์แผนโบราณของจีนการฝึกการหายใจ ประกอบด้วยทูน่า (การหายใจออกและการหายใจเข้า) สมาธิ (การนั่งอย่างเงียบๆกำหนดการหายใจ) และเน่ยกง (การมุ่งฝึกกำลังภายในด้วยตนเอง) การฝึกฝนร่างกายด้วยท่าต่างๆ การกำหนดลมหายใจและจิตใจจะทำให้คนสามารถบ่มเพาะพลังชีวิตขึ้นมาบำบัดรักษาความเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ตามทฤษฎีการแพทย์จีนแผนโบราณนั้น พลังชีวิตหรือชี่ มีความหมายอย่างมาก มันเป็นพื้นฐานทางวัตถุของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของชีวิตมนุษย์ เมื่อชีวิตสิ้นสุดลง พลังชีวิตนี้จะหายไป พลังชีวิตที่เข้มแข็งจะทำให้คนเรามีสุขภาพดี ส่วนพลังชีวิตที่อ่อนแอจะทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่ดี ดังนั้นการแพทย์แผนโบราณของจีน จึงให้ความกับใจอย่างมากต่อการบ่มเพาะพลังชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพดี
ชี่กงในเชิงวิทยาศาสตร์

ในเชิงวิทยาศาสตร์ชี่กงเป็นพลังงานหลายรูปแบบ ที่พบมากคือคลื่นรังสีอินฟาเรดและประจุไฟฟ้า ปรัชญาทางการแพทย์กล่าวถึงความสำคัญของสมดุล และการไหลเวียนของเลือดเหมือนนำที่ต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยน ซึ่งชี่จะไปตามกระแสเลือด การอุดตันของเส้นพลังงานจึงอาจเกิดทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งรักษาได้ด้วยการ ฝังเข็ม การกดจุด และชี่กง

การออกกำลังกายแบบชี่กง
ชี่กงเป็นการออกกำลังกายแบบ exercise ที่ระบบ autonomic เช่นการทำให้มือที่เย็นเปลี่ยนเป็นร้อน ความดันก็จะลดลง การทำให้นำลายที่แห้งกลับมีนำลายออกมา หรือทำให้ลำไส้ซึ่งเคยนิ่งกลับทำงาน เวลาฝึกจึงมักผานลม หรือท้องร้อง

ชี่กงไม่ใช่สูตรสำเร็จ
การออกกำลังกายด้วยการฝึกชี่กงไม่ได้เน้นเรื่องความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นหลัก เพราะคนแข็งแรงไม่จำเป็นต้องกล้ามใหญ่ แต่ต้องมีความว่องไว และความทนทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ชี่กงไม่ใช่สูตรสำร็จ จึงควรออกกำลังกายอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จ๊อกกิ้ง ไทเก๊ก หรือรำตะบอง

ชี่กงรักษาโรคได้จริงหรือ
นายแพทย์เทอดศักดิ์ยืนยันว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีการวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศ รวมทั้งมีการเผยแพร่ ข้อมูลผ่านทางวารสารทางการแพทย์ในประเทศจีน พบว่า โรคที่ตอบสนองได้ดีกับการฝึกชี่กงคือ โรคในกลุ่มที่เรียกว่า psychosomatic ซึ่งก็คือโรคทางกายอันเนื่องมาจากจิตใจ เช่น ไมเกรน ความดันสูง ภูมิแพ้

ผลของชี่กง
• ผลของจิตใจ ที่สงบสบาย ย่อมทำให้ร่างกายสมดุล เจ็บไข้ได้ยาก ที่ป่วยก็หายเร็วขึ้น
• ผลของสมาธิ สมาธิที่เกิดระหว่างการฝึกจะทำให้สมองปลอดโปร่ง ลดการทำงานของหัวใจ ความดันเลือดลดลง เนื่องจากการขยายของหลอดเลือดฝอย ย่อมผ่นระบบประสาทอัตโนมัติ
• ผลของภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันที่ทำงานสมดุล พบว่าการฝึกตนเองจะทำให้มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว ผู้ที่แพ้อากาศมักมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
• ผลต่อระบบโฮร์โมน ทำให้ระบบฮอร์โมนเกิดความสมดุล ตั้งแต่ต่อมใต้สมองไปจนถึงต่อมหมวกไต
• ผลของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายพร้อมกันทั้งกายใจ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรง

กระบวนท่าในการฝึก
เนื่องจากปัจจุบันนี้ชี่กงกลายเป็นศาสตร์ตะวันออกซึ่งเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทำให้เกิดสำนักฝึกชี่กง ขึ้นมากมาย และมีชี่กงแบบต่างๆถึง 3000กว่าสำนัก แต่ท่าที่รับความนิยมอย่างกว้างขวางคือชี่กง 18 ท่าซึ่งดีต่อผู้ใหญ่ แต่สมาธิไม่ต่อเนื่อง อีกแบบคือสำนักฝ่าหลุนกง ซึ่งมีเพียง 5 ท่า เน้นที่ความนิ่ง ท่าน้อยแต่ให้พลังมาก

ข้อดีของชี่กง
คือสามารถฝึกได้เองในท่าง่ายๆ โดยดูจากหนังสือแล้วฝึกตาม หรือเข้ากลุ่มฝึกตามสถานที่ที่มีการออกกำลังกายแบบชี่กง หากอยากเรียนรู้ให้ลึกซึ้งและได้ผลมากขึ้น ก็สามารถ ไปเรียนกับผู้รู้หรือที่เรียกว่าอาจารย์ตามสำนักต่างๆ

วิธีเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย
การฝึกควรทำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฝึก ควรสวมเสื้อผ้าที่สบายยืดหยุ่นดี แต่ไม่ควรสวมรองเท้า ไม่ควรฝึกในอารมณ์ที่ไม่ดี หากกำลังเครียดต้องฝึกหายใจ จนความเครียดลดลงระดับหนึ่งก่อนจึงเริ่มฝึกชี่กงไป


กระบวนท่าในการฝึกชี่กง


• ท่าที่ 1ปรับลมปราณ
วางเท้าแยกกันด้วยความกว้างเสมอไหล่ ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า ปล่อยแขนทั้งสองข้างวางข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือแล้วยกขึ้น ผ่านทรวงอกถึงระดับคาง หายใจเข้าช้าๆแล้วควำฝ่ามือ ลดลงจนถึงระดับเอว ย่อเข่า จังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

• ท่าที่ 2 ยืดอกขยายทรวง
จากท่าที่ 1 ซึ่งยังคงย่อเข่า ค่อยๆยกมือขึ้น และเคลื่อนมาช้าๆมาด้านหน้าจนถึงระดับอก จึงค่อยๆกางแขนออกไปจนสุดแขน หายใจเข้าช้าๆ ค่อยๆดึงมือกลับมาในทิศทางเดิม ลดฝ่ามือลงแนบข้างลำตัว ย่อเข่าจังหวะนี้หายใจออกช้าๆ

• ท่าที่ 3 อินทรีทะยานฟ้า
จากท่าที่ 2 กางแขนออกทางด้านข้าง เหยียดขาตรง ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า ลดแขนลงข้างลำตัว หายใจออก

• ท่าที่ 4 ลมปราณซ่านกายา
จากท่าที่ 3 ตวัดช้อนข้อมือจากด้านข้างเข้าหาตัว เสมือนเอาพลังจากธรรมชาติเข้ามาในร่างกาย หงายฝ่ามือยกขึ้นจนถึงระดับคาง แล้วคว่ำฝ่ามือลง ลดฝ่ามือ จนถึงระดับเอว ย่อเข่า(หากเป็นท่าจบ เมื่อลดฝ่ามือลงให้แขนแนบลำตัวไม่ต้องย่อเข่า) การวางจิตใจ ให้วางไว้ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง


ที่มา : คู่มือ หมอประจำตัว
คู่มือฝึกชี่กง “ต้าวสือ” แปลและเรียบเรียง
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=77
http://www.stottpilates.com/warmup/en/images/lifestyle/natalia-breathing.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น