วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สมาธิบำบัด

กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของ พลังในร่างการย ความสัมพันธ์กาย - จิต

...สมาธิบำบัด...

ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์สมัยใหม่ การเขียนแผนที่รหัสพันธุกรรม การโคลนนิ่ง หรือแม้แต่การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ โลกมนุษย์มีวิทยาการสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่โรคภัยก็คุกคามมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นโรคทางใจ เช่นความเครียดที่ส่งผลถึงกาย และแก้กันไม่ได้สักที จนหลายครั้งที่หลายหน่วยของสังคมโลกต้องหันมาทบทวนว่า วิทยาการสมัยใหม่เป็นคำตอบสำหรับทุกสิ่งจริงหรือ

คำตอบที่ได้คือ เราอาจต้องชะลอการพัฒนาภายนอกลงบ้าง และหันมาพัฒนาจิตใจข้างในกายของเรา เพราะกายกับใจต้องไปด้วยกัน ภัยสุขภาพที่คุกคามมนุษย์มากที่สุด คือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมผิดปกติ ดังนั้นทางออก อาจคือการต้องปรับใจ และต้องใช้สมาธิบำบัดเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

สมาธิบำบัด เป็นความรู้ของวงการแพทย์ซีกโลกตะวันตก ที่สนใจด้านการฝึกจิตและนำการฝึกสมาธิเข้ามาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งได้ผลดี โดยหลักการของ “สมาธิ” คือการทำจิตใจให้สงบ อันจะส่งผลให้การทำงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ

เชื่อหรือไม่? การฝึกสมาธิเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ มีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึก หรือ การฝึกสมาธิแบบผ่อนคลาย ช่วยลดความดันโลหิตลงได้ และ การฝึกสมาธิ ทำให้มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มีขนาดลดลงได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สิ่งสำคัญของสมาธิบำบัดก็คือ การใช้สมาธิเพื่อฝึกใจให้มีพลังและมีอำนาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในที่นี้ใช้เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่เกี่ยวกับโรคที่มีเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์ที่เกิดจากโรคได้ วิธีการฝึกสมาธิบำบัดมีหลายวิธีได้แก่

1. การนั่งภาวนา
2. การเดินจงกรม
3. การใช้พลังภายในร่างกาย
4.การใช้พลังภายนอก
5. การฝึกเพ่งลูกแก้ว
6. การอธิฐานจิต
7. การแผ่เมตตา
8. การใช้พลังของคนอื่น (หมอหมู่)

การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่หยาบไปสู่ความละเอียด เมื่อใจสงบกายกับใจก็จะแยกกัน เมื่อสามารถรู้จักใจได้ก็สามารถให้ใจทำอะไรได้ตามต้องการเท่าที่พลังของใจจะทำได้ ก่อนถึงขั้นนั้นใจต้องสงบเสียก่อน ผู้ฝึกต้องมีความอดทน มีศรัทธาและมีความสม่ำเสมอในการฝึกก็จะบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ

การบริหารกาย – ใจโดยใช้หลักพระพุทธศาสนา

1. การให้ทาน มุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่น ได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1) วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์
2) เจตนาการให้ทานต้องบริสุทธิ์
3) เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์

ทานที่ให้ผลมากคือ อภัยทาน การให้ธรรมทาน 100 ครั้งก็ยังไม่เท่าการให้อภัยทาน คือ การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาต จองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ โทสะ กิเลส และเป็นการเจริญ เมตตาพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ละความพยาบาท

2. การรักษา คือ แปลว่า ปกติ คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและตามฐานะ เป็นการตั้งใจรักษาความปกติของตนเอง ในที่นี้คือศีล 5
ข้อที่ 1 ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความโกรธและขาดเมตตา มีผลต่อ ตับ
ข้อที่ 2 ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ มีผลต่อ ปอด
ข้อที่ 3 ไม่ล่วงประเวณีในคู่ครองหรือคนในปกครองของคนอื่น มีผลต่อหัวใจ
ข้อที่ 4 ไม่กล่าวมุสา มีผลต่อ ม้ามและกระเพาะ
ข้อที่ 5 ไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดอง ของมืนเมา ทำให้ขาดสติ สัมปชัญญะ มีผลต่อไต

3. การภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุด ในพระพุทธศาสนาการภาวนามี 2 อย่าง คือ
3.1 สมถภาวนา (การทำสมาธิ) ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ คือ ทำใจให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนามี 40 วิธี ซึ่งจะใช้วิธีใดก็ได้ สุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ การเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย
การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่เสียเงินเสีย ทอง เพียงแต่คอยระวังรักษาสติไม่ให้จัดแส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่กิจการงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี
2. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่
3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ

ประโยชน์ของสมาธิ
- ทำให้จิตเหมาะแก่การงาน
- ภาวะของการได้ฌาน เป็นการหลุดพ้นเพียงชั่วคราว เพราะกิเลสไม่ได้ถูกทำลาย เป็น เพียงระงับด้วยกำลังของฌาน “หินทับหญ้า”
- ประโยชน์ที่แท้ของสมาธิ คือ ประโยชน์ทางปัญญา เพื่อความหลุดพ้นสิ้นอาสวะ ปัญญาทางพุทธศาสนา หมายถึง การถอนตนออกจากสิ่งทั้งปวง โดยทำลายความยืดมั่น ถือ มั่น ให้หมดสิ้นไป อันเป็นการปลดเปลื้องจิตให้พ้นจากความเป็นทาสหรือไม่อยู่ใต้อำนาจของสิ่งใด ๆ

3.2 วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) ไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีเพียงอย่างเดียวคือขันธ์ 5 (รูปเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) สมาธิเปรียบเหมือน หินสับมีด ส่วนวิปัสสนาเหมือนมีดย่อมีอำนาจถากถางกิเลส คือคลายจากอุปทาน คือ ความยึดมั่น ถือมั่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ ความโกรธ ความหลง ดังนั้น การเจริญวิปัสสนาต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน

สมาธิบำบัด : การบริหารใจ ด้วยสมาธิ
1. มหัศจรรย์ภายในร่างกาย ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว / ใจรักษากาย
2. สาเหตุของโรคมัก จะพบว่าเป็นสาเหตุด้วยใจมีอำนาจเหนือกว่ากาย
3. ความสุขอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าความสงบ ร่างกายก็จะได้รับการพักผ่อนไปด้วยการฝึกสมาธิ เพราะการฝึกสมาธิช่วยแก้ปัญหาชีวิตที่ตรงจุด และเป็นความสุขที่แท้จริงหาได้จากใจที่อยู่ภายในตัว ซึ่งก็มีผลต่อร่างกาย ทำให้สุขภาพกาย – ใจดีด้วย

4. การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนคลื่นความถี่ของใจให้เกิดความถี่ที่สูงขึ้นและสมองจะสร้างสนามพลังออกมาหุ้มห่อร่างกายที่เรียกว่า ออร่า
5. การฝึกสมาธิทำให้ใจอยู่ในอารมณ์สงบ ร่างกายก็จะได้รับการพักผ่อนไปด้วย การฝึกสมาธิเป็นยาอายุวัฒนะอย่างหนึ่ง
6. การฝึกสมาธิควรยึดหลักสายกลางคือ ไม่เคร่งครัดและไม่หย่อนยานกับตนเองจนมากเกินไป การฝึกจะทำให้การนึกคิดเปลี่ยนไปทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจ
7. ยืดหลักสายกลาง ใจนั้นมีอำนาจทุกครั้งที่มีความสมดุลทางอารมณ์ การฝึกสมาธิเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และการรับรู้ต่อสิ่งภายนอก เมื่อฝึกแล้วจะรู้สึกว่าตนเองใจเย็นลง ไม่เร้าร้อนมีความมั่นคงทางใจ และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน มีความเชื่อมั่นเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป สามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้
8. การอยู่คนเดียวเป็นการพัฒนายกระดับใจให้สูงขึ้น ด้วยการฝึกความสงบรับประทานอาหารน้อย นอนน้อย พูดน้อยหรือพูดเท่าที่จำเป็น ไม่ติดกับความสะดวกสบายเป็นการเปิดโอกาสให้ใจมีอิสระ สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการสร้างสนามพลังให้กับตนเอง
9. สิ่งสำคัญของการฝึกสมาธิขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความเพียรพยายาม ความศรัทธา ความอดทน และความสม่ำเสมอ



ที่มา ;
http://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=368 http://www.siamsouth.com/smf/index.php?action=printpage;topic=1092.0
www.bloggang.com/viewblog.php?id=sriphat&date=28-12-2006&group=8&gblog=17 - 39k –
www.be-v.net/index.php?lay=show&ac=article...
http://www.momypedia.com/elctfl/rlga/imgstk/img4_1653.jpg\
http://www.kullastree.com/site/images/879getfit01.jpg
http://www.kalyanamitra.org/kal_magazine/march_45/images/med_1.jpg
http://dhamma.net/give/lastpage/pic/girl_med2.jpg

1 ความคิดเห็น:

  1. โปรแกรมสมาธิบำบัดของศูนย์อนัมคาราเพื่อการบำบัดทางจิตวิญญาณ

    ดูที่นี่ครับ
    http://anamcarashc.blogspot.com/search/label/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94

    ตอบลบ