วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรบำบัด(สมุนไพรชนิดต่างๆ)(3)

สมุนไพรบำบัด(สมุนไพรชนิดต่างๆ)(3)

ชนิดน้ำสมุนไพร ส่วนที่ใช้และวิธีทำ ประโยชน์และสรรพคุณ


น้ำตะไคร้
ใช้ตะไคร้ 3 - 5 ต้นหั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใช้นำลิตรครึ่งต้มพอเดือด กระองเอากากออก แล้วต้มต่ออีกราว 3 นาที หรือใช้เหง้าแก่ฝานเป็นแว่น คั่วไฟอ่อนๆ ชงเป็นชา ตะไคร้มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย

น้ำกระเจี๊ยบ
เลือกดอกกระเจี๊ยบแดง คัดเอากลีลหนึ่งขีดครึ่งใส่ในหม้อเคลือบ เติมน้ำ 3 - 4 ลิตร ต้มนาน 30 - 40 นาที จนน้ำต้มเป็นสีแดงสดกรองเอากากออก ดื่มแก้กระหาย ให้ความสดชื่น กัดเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อนๆ

น้ำบัวบก
ใช้ต้นบัวบกสด ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ เติมน้ำสุกลงไปพอประมาณ กรองกากออกจะดืมน้ำคั้นสดหรือเติมน้ำเชื่อมนิดหน่อยก็ได้ ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ มีวิตามินเอและแคลเซียมในปริมาณสูง

น้ำเชอร์รี่
นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียด นำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่วงไปคั้นกับกากเชอร์รี่ให้แห้งมากที่สุด นำน้ำเชอร์รี่ที่คั้นได้ ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

น้ำฝรั่ง
เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเนื้อชิ้นเล็กๆนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจน ละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและมีสาร เบต้า-แคโรทีน ช่วยลดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจ้บที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเลือดแข็งตัว ช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดอุดตัน

น้ำข่า
เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น .เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้ ช่วยขับลมได้อย่างดี ป็นการระบายลมออกมา จากลำใส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว

น้ำคะน้า
นำใบคะน้าล้างให้สะอาด หั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกครึ่งหนึ่งปั่นจนละเอียด นำมากรอง จากนั้นเติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปเติมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ ชิมรสตามชอบ ให้วิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่ง เบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านการก่อมะเร็งรองลงมามีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้ดี ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

น้ำมะเฟือง
ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

น้ำมะขาม
นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ คุณค่าทางอาหาร:: มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

ส่วนวิธีการดื่มที่ถูกวิธี ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้

การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซนเซียสขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง,จุรินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง
๑. thaihealth.or.th
๒. http://www.google.co.th/images?
๓. http://www.oknation.net/blog/mamladda/2007/12/12/entry-
๔. http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=118
๕. ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ
๖. http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=727

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น