วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

จินตภาพบำบัด

จินตภาพบำบัด

จินตภาพบำบัดคืออะไร

จินตภาพบำบัด คือ การนึกภาพลักษณ์หรือสัญลักษณ์ ที่ไม่มีอยู่จริงจินตนาการมามองอยู่ในใจและแก้ไขความผิดปกติของร่างกายโดยการส่งข้อมูลไปยังจิตใต้สำนึก เนื่องจากข้อมูลที่เราต้องการให้เกิดขึ้นถ้าทำในระดับจิตสำนึกแล้วจะไม่ได้ผลนัก เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ จิตใต้สำนึกก็จะยอมรับข้อมูลหรือภาพลักษณ์นั้นแจ่มชัดขึ้น มั่นคงขึ้น ส่งผลต่อการทำงานต่อสมอง ฮอร์โมน และแก้ไขอาการหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การทำจินตภาพบำบัดด้วยตนเองทำได้ง่ายแต่ให้ผลช้า ทำให้หลายคนเลิกล้มวิธีการนี้ไป แต่หากทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนย่อมเกิดผลดีมากกว่า ตัวอย่างอาการที่ใช้จินตภาพบำบัดเช่น เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน กินจุ ติดสุรา ติดบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้จินตภาพบำบัดในการร่วมรักษาโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้มีประสิทธิภาพ และยังมีประโยชน์ในการเล่นกีฬาช่วยให้พัฒนาฝีมือและบรรลุเป้าหมายในการแข่งขัน ซึ่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะซักประวัติและค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ทำจินตภาพบำบัดต้องการแก้ไข และต้องได้รับความร่วมมือและความสม่ำเสมอในการบำบัดด้วย

การสร้างจินตภาพ
การสร้างจินตภาพเป็นเทคนิคที่ใช้ในการบำบัดที่มีมานาน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ในประเทศไทยการสร้างจินตภาพได้รับความสนใจมากขึ้น การสร้างจินตภาพเป็นเครื่องมือทางความคิดที่กระตุ้นระบบรับรู้หลากหลาย เช่น การมองเห็น การฟัง การได้กลิ่นรส และการเคลื่อนไหว ความคิดทางบวกและการสัมผัสแม้ว่าแนวคิดนี้จะทำให้เกิดสุขภาพที่ดี แต่ประชาชนต้องตระหนักถึงผลในแง่ลบด้วย โดยก่อนที่จะใช้ต้องมีความเข้าใจและความรู้เป็นอย่างดี บทความนี้กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับการสร้างจินตภาพ เช่น ความหมาย ทฤษฎีการสร้างจินตภาพปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างที่ดี และการปฏิบัติ


ขั้นตอนในการปฏิบัติการสร้างจินตภาพ
1. เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติสวมเสื้อผ้าที่หลวมรับประทานอาหารให้พอดี ไม่หิวหรืออิ่มเกินไป
2. เลือกสถานที่ที่ปฏิบัติในสถานที่เงียบสงบบรรยากาศไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบความหมายและประโยชน์ของการสร้างจินตภาพและเปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติซักถาม ให้ความมั่นใจและแจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าการสร้างจินตภาพทุกครั้งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ฝึกปฏิบัติตลอดเวลาเพราะผู้ฝึกปฏิบัติ มักคิดว่าการสร้างจินตภาพทำให้ตนถูกควบคุมหรือเสียการควบคุมก่อให้เกิดความวิตกกังวล การสร้างจินตภาพอาจไม่ประสบความสำเร็จ
3. แจ้งให้ผู้ฝึกปฏิบัติทราบว่าเขาสามารถหยุดการสร้างจินตภาพได้ตลอดเวลา เมื่อต้องการจะสิ้นสุด การทำให้ผู้ฝึกปฏิบัตินับเลขในใจช้าๆ จากเลขหนึ่งถึงเลขห้าแล้วค่อยๆ ลืมตาผู้ฝึกปฏิบัติก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
4. เริ่มต้นปฏิบัติด้วยการผ่อนคลาย
5. ตามด้วยการสร้างจินตภาพน้ำเสียงตลอดการปฏิบัติที่ใช้ต้องช้าเรียบ สงบ เยือกเย็น ให้ความเชื่อมั่นในการนำการสร้างจินตภาพ ไม่เร่งรีบ
6. ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติให้นับเลข 1-5 และให้ผู้ฝึกปฏิบัติเปิดตา เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกปฏิบัติได้อยู่อย่างสงบและคิดถึงสิ่งที่ได้ปฏิบัติมา นานเท่าที่ผู้ฝึกปฏิบัติต้องการ





ที่มา ;
www.balavi.com/content_th/exercise/exercise19.asp - 16k -
http://www.medihealing.com/my_pictures/56723_imagesCAPHXU45.jpg
http://www.iqeqdekthai.com/know/learn/learn11.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น