วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง(2)

เรื่องการใช้ฮอร์โมนรักษานี่ก็จะมีเนื้อเยื่อบางอย่างที่ตอบสนองกับฮอร์โมนได้ดี เรื่องของมะเร็งที่เกี่ยวกับเต้านมหรืออัณฑะต่างๆก็จะมีขบวนการของฮอร์โมนเข้ามาช่วยด้วย แล้วก็ในระยะปัจจุบันเราก็ใช้วิธีผสมผสานหลายอย่าง มะเร็งบางตัวก็จะตอบสนองของเรื่องการให้ยาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ในอนาคตก็มีการพูดถึงการที่จะควบคุมเรื่องยีนส์ที่ทำให้มะเร็งมันกลายพันธุ์ รวมทั้งเรื่องของการไปจัดการเส้นเลือดที่จะมาเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยการให้ยาบางอย่างซึ่งจะยับยั้งจะไม่ให้เส้นเลือดเลี้ยง ตัดเสบียงมัน มันจะโตไม่ได้ ก็จะตายไป สำหรับผลในการดูแลคนไข้จะผ่านไปถึงระยะหนึ่ง นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมทำงานอยู่ ที่พบว่าคนไข้มีปัญหาอยู่ ซึ่งจริงๆปัญหาในการแพทย์แผนปัจจุบัน เวลาเรามองเรื่องมะเร็ง เราจะไปมุ่งเรื่องก้อนเนื้อเป็นหลัก ถ้าเรารักษาก็คือกำจัดมัน ตัดมันได้คือรักษาโรคได้ คนไข้ก็จะสบายขึ้น แต่ว่าคนที่เป็นมะเร็งแล้วหลายๆคนโชคร้ายมาพบระยะหลังแล้ว มันผ่าตัดไม่ได้ ฉายแสงก็ไม่หาย เพราะฉะนั้นแนวทางการรักษาที่จะไปกำจัดโรคที่ทำให้คนไข้สบายขึ้นก็เป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีวิธีที่จะทำอย่างไรให้คนไข้ทุกข์ทรมานน้อยที่สุด การตัดโรคคือการรักษาให้หาย ซึ่งคนไข้มะเร็งจำนวนมากเลยที่ทำไม่ได้ ซึ่งเราจะมองว่าในทางคู่กันจะลดการทรมานได้อย่างไร

อันนี้ก็เป็นตัวอย่างก็คือว่า คนไข้ที่เป็นมะเร็งมันจะมีอาการต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เรามีโปรเจ็กของสาธารณะสุขไปสัมภาษณ์ภรรยาของผู้ป่วย และก็พบว่าคนนี้เป็นคนหนุ่มคนแน่นเลย เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย ซึ่งเขาก็รักษาตามแพทย์แผนปัจจุบันมาได้ระยะหนึ่ง แล้วต่อมาก็ปฏิเสธเพราะว่ามันไม่ดีขึ้นอย่างที่คิด เลยขอมาดูแลที่บ้าน มาดูแลเองซึ่งพบว่าตอนหลังอาการก็ทรุดหนัก นอนไม่ได้ เดินไม่ไหว ปวดมาก แต่ยังพูดได้และกินได้ ต่อมาอาการเป็นมากขึ้น แน่น นอนถ่าย นอนปัสสาวะไม่รู้ตัวเลย และตอนสุดท้ายหายใจแทบไม่ออก พูดมีแต่เสียงอือๆ ไม่สามารถพูดเป็นคำและต้องดูดเสมหะตลอด ตอนวันสุดท้ายเขารู้ตัวว่าไม่ไหว สติยังดีอยู่ยังบอกให้ภรรยาว่าอย่างเพิ่งไปนอนเดี๋ยวเขาจะไปแล้วให้อยู่เป็นเพื่อนเขา จากนั้นเขาก็เสียชีวิตไปโดยที่อยู่กับภรรยาโดยมือยังกุมกันอยู่เลย

ในที่เราเจอตัวมะเร็งคุกคามแล้วมีอาการได้หลายแบบมากเลย จะเห็นได้ว่าคนประมาณ 80%จะมีทั้งความเจ็บปวดทรมาน 70%จะเบื่ออาหาร ครึ่งหนึ่งมีคลื่นไส้อาเจียน ครึ่งหนึ่งนอนไม่หลับ เกือบครึ่งหายใจลำบาก ถ่ายอุจจาระลำบาก ซึมเซาคุมปัสสาวะไม่ได้ มีแผลกดทับต่างๆเหล่านี้ ทั้งนี้ในสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือจะเห็นว่าเขาไม่เหมือนกับเรา ปวดจากการเป็นแผลแล้วฉีดยาชาหรือให้ยาแล้วหาย แต่ของมะเร็งจะมาเป็นชุด มาทุกอย่าง แล้วข้อที่ไม่ดีอย่างหนึ่งก็คือว่า สมมุติคนไข้คนหนึ่งเจ็บปวดขึ้นมา เราให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ในปัจจุบันก็คือกลุ่มที่เป็นมอร์ฟีน แต่มอร์ฟีนเป็นยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกคลื่นไส้ หายใจลำบากด้วย กดการหายใจด้วย เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าตัวมะเร็งทำให้ท้องผูกอยู่แล้ว คลื่นไส้อยู่แล้วนั้น เพราะเรามาแตะว่าให้ปวดลดลง โดยให้ยามอร์ฟีน กลับทำให้ท้องผูกมากขึ้น กับทำให้ให้คลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น คนไข้ก็จะ swing (กลับไปกลับมา) จากการที่ไม่สบายจากอาการหนึ่งมาอีกอาการหนึ่งได้ การรักษาทางกายมันก็มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่งซึ่งทำให้มันทำได้ไม่เต็มที่ มันไม่เหมือนเราเป็นโรคอย่างหนึ่งเราก็จัดการมันทีเดียว ส่วนมะเร็งมันจะมาหลายๆอย่างฉะนั้นเวลารักษาอย่างหนึ่งจะมีผลกระทบกับอีกอย่างหนึ่ง ก็จะเป็นอย่างนี้ไปในอาการอีกอาการหนึ่ง คนที่มานี้เป็นคุณแม่ของพยาบาลด้วย เขาเป็นมะเร็งไทรอยด์ ก็รักษาด้วยการผ่าตัด พอผ่าตัดเสร็จก็มากลืนน้ำแร่กัมมันตรังสี เสร็จแล้วก็ไปตรวจใหม่พบมันกระจายมาที่ปอดแล้ว มาที่กระดูกด้วย จะเห็นได้ว่าธรรมชาติของมะเร็งจะเป็นอย่างนี้ เริ่มจากที่เดียว แต่ว่าตอนที่เรายังไม่เห็นต้นตอมันก็ไปเปิดสาขาใหม่แล้ว มันโตขึ้นแล้ว พอรักษาตรงนี้เสร็จ ตรงนี้มันก็ใหญ่ขึ้น พอเห็นอีกทีที่ปอด นั้นก็คือต้องตามรักษาไปเรื่อยๆ มันก็เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารักษาได้ยาก แล้วการรักษาก็จะมีความทรมานบางอย่าง เช่นผ่าตัดก็เจ็บปวดเมื่อต้องกลืนน้ำแร่ (ซึ่งมีกัมมันตรังสีสูงจะมีผลร้ายต่อเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ) ทำให้พ่อเขากับแม่เขาต้องนอนแยกกัน ประมาณ 3-4 วัน ไม่ให้อยู่ด้วยกัน เวลาเขาติดต่อสื่อสารกันต้องใช้เขียนในกระดาษ คนแก่ๆเขาต้องจดใส่กระดาษเล็กๆเป็นจดหมายเหมือนเวลาเด็กๆที่เราส่งจดหมายรักจะต้องส่งกันอย่างนั้น ก็มีความทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจทั้งครอบครัว ตอนหลังอาการมากขึ้นเขาขอกลับบ้าน ปัจจุบันเขาเสียชีวิต โชคดีที่ลูกๆเขาช่วยดูแลผลัดกันดูแล คนที่เป็นพยาบาลก็หายาแก้ปวดมาให้ จัดยาสมุนไพรมา ซึ่งเท่าที่เราสัมภาษณ์ในครอบครัวของคนที่เสียชีวิตในระยะสุดท้ายในสังคมไทยเรานี้ แม้แต่ครอบครัวที่มีคุณหมอหรือนางพยาบาลอยู่ จะมีการรักษาแบบ 2 แนวควบคู่กันไป ก็คือรักษาทั้งแผนปัจจุบันควบคู่ไปกับการใช้สมุนไพรไทยมาประกอบผสมผสานให้เหมาะสม เราก็คุยกันจริงๆเมื่อทำแล้วก็ควรเลือกให้มันเสริมกันเช่น ถ้ารักษาทางด้านสมุนไพรและดูว่ามันมีโทษกับตัวเขาไหม ก็ต้องเลือกให้เหมาะ ถ้ามันไปด้วยกันได้ ผมก็ว่ามันเป็นสิ่งที่ดี แล้วก็ในด้านครอบครัวเป็นส่วนสำคัญมากที่จะร่วมกันดูแล

ซึ่งในปัจจุบันการรักษาอย่างที่ผมบอกมี 2 แนว คือรักษาให้หายและรักษาโดยประคับประคองมองที่เป็นองค์รวมชีวิตมากขึ้น ในทางรักษาให้หายจะมองตัวก้อนเนื้อ แต่เวลาเดียวกันจะต้องคำนึงถึงตัวคนไข้เป็นหลักใหญ่และครอบครัวด้วย บางทีที่เราเห็นคนบางคนทรมานมากกว่าควรจะเป็น เมื่อคุณพ่อเป็นมะเร็งปุ๊บจริงๆเคยบอกคุณพ่อไว้ว่าจะเข้ามาช่วยทำกิจการ แต่พ่อปุ๊บปั๊บเป็นมะเร็งยังไม่ทันไร พอดีเขาไปทำเรื่องอื่นๆอยู่ต่างจังหวัดไม่เคยมาช่วยเหลือที่บ้าน พอคุณพ่อเป็นมะเร็งปุ๊บ suffer (เป็นทุกข์) ก็ไม่ใช่เพียงแต่การจากไปแต่ sufferเพราะเขามีความรู้สึกว่าเขายังไม่ได้ปรนนิบัติคุณพ่อ เขายังไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้กับคุณพ่อไว้ คุณพ่อก็มาด่วนจากเขาไปเสียแล้ว อย่างนั้นปัญหามันซับซ้อนยิ่งขึ้นอีก บางคนที่ตายปุ๊บปั๊บยิ่งทรมาน เวลาเราถามคนที่เคยมาเข้าประชุมสัมมนาบอกว่าจริงแล้วอยากตายแบบไหน คนทั่วๆไปจะบอกว่าแบบว่านอนหลับและปุ๊บไปเลย แต่จริงๆคนที่นอนหลับ หลับปุ๊บแล้วไปเลยพอเข้าไอซียู ญาติที่อยู่ข้างหลังทรมานอย่างยิ่ง มันมีอะไรบางอย่างที่มันสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในลักษณะแนวทางปัจจุบันนี่เราอยากให้เป็นเมื่อก่อนพอรักษาแบบข้างบนแบบเป็นปล่อง แบบแรก เอาแบบสุดๆทางการแพทย์แผนปัจจุบันพอใกล้จะตายจริงๆแล้วค่อยนิมนต์พระมาแบบที่ 2 แต่เดี๋ยวนี้เราบอกว่าไม่เห็นแล้วเพราะ บางครั้งคนไข้หมดสติไม่รู้ตัวไปแล้ว

เราอยากใช้แบบที่ 2 ก็คือว่าให้มันผสมผสานไปตั้งแต่แรกเลยให้มันคลุกเคล้ากันไปเลยว่าพอเริ่มรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง นอกจากรักษาทางกายแล้ว คุณต้องดูแลเรื่องครอบครัวอย่างไรบ้าง มีอะไรที่อยากจะทำและยังไม่ได้ทำ มีอะไรที่เป็นบุญกุศลที่อยากปฏิบัติ อยากจะทำให้ทำตั้งแต่แรกเลย ตัวนี้มันจะทำให้เข้าถึงวาระสุดท้ายอย่างสงบได้ ระดับความสัมพันธ์ในการรักษาพยาบาลถือว่า คนไข้เป็นศูนย์กลาง คนในครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งพระและวัดเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งที่อยู่ด้านลึกในใจของคนไข้ จึงเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในการรักษาอย่างใกล้ชิดด้วย สำหรับหมอที่เข้าไปรักษาพยาบาลคนไข้ซึ่งนอนอยู่บนเตียง คือคนแปลกหน้า ส่วนรพ.ชุมชนหรือรพ.มหาวิทยาลัยต่างๆคือส่วนวงนอก คนในครอบครัวคือคนใกล้ชิดครับ จะทำให้คนไข้ถึงวาระสุดท้ายอย่างสงบได้ มี 3 กระบวนการที่คนไข้ต้องผ่าน คือ 1.พอเริ่มรู้ว่าเป็นมะเร็ง ก็จะมีอาการเหมือนโลกถล่มไม่รู้ว่ากำลังเผชิญอยู่กับอะไร อยู่ในสภาวะ shock (ตกใจ) 2. ต่อมาเริ่มมีอาการเจ็บปวดทรมาน หายใจไม่ได้ ท้องผูก อุจจาระปัสสาวะกลั้นไม่ได้ 3. ระยะใกล้เสียชีวิตแล้ว ก็คือตอนนั้นรู้ตัวแล้วไม่ไหวแน่ หายใจทุกครั้งลำบากพูดเริ่มไม่ได้ ถ่ายเริ่มไม่ได้ต่างๆ รู้ตัวว่ากำลังเสียชีวิต ขั้นตรงนี้มีอยู่ว่ารักษามะเร็งจะเจอช่วงไหน ช่วงต้น ช่วงกลาง หรือช่วงปลาย และแนวทางดูแลแบบองค์รวมโดยสรุป

ระยะที่ 1. ดูแลร่างกายด้านเจ็บปวดทรมาน มีทั้งวิธีให้ยาและไม่ให้ยา วิธีที่ไม่ให้ยามีเยอะแยะเลย โดยทางการแพทย์พยาบาลแผนปัจจุบันของฝรั่ง ได้แก่การทำจิตบำบัด ทำการผ่อนคลาย relaxation แต่การแพทย์ทางเลือกก็จะมีการใช้การนวด ทำอโรมาเทอราปี (Aromatherapy) เรื่องอะไรต่างๆเข้ามาซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าต้องเข้ามาผสมผสานกัน ระยะที่ 2. คือการดูทางด้านจิตใจสังคม อารมณ์ ระยะที่ 3. ดูแลทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำอย่างนี้ ได้มีการประมวลโดยที่ให้ครอบครัวเข้ามาร่วมและแพทย์พยาบาลต้องมาประชุมทำกันเป็นทีม และในช่วงเสียชีวิตจะต้องทำอย่างไรให้เขาจากไปอย่างสงบได้อย่างดี และคนที่เหลืออยู่ยืนหยัดอยู่ได้ ก็เป็นเป้าหมายรวมกันของคนทุกคนทั้งครอบครัว และทางการแพทย์ว่าจะช่วยเขาอย่างไรให้ผ่านระยะเปลี่ยนผ่านนี้ไปได้

นพ.ศิริโรจน์: ขอขอบคุณ คุณหมอพรเลิศสรุปมะเร็ง ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมองว่ามันเป็นเซลล์ที่ผิดปกติในสารพันธุกรรมอยู่ในใจกลางเซลล์ ส่วนการผิดปกติตรงนี้ไม่มีใครรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่รู้ว่าพฤติกรรมของเซลล์มันจะโตขึ้นโตขึ้นแล้วก็ไปกัดกินอวัยวะต่างๆทำให้เสียชีวิตตามมา การรักษาในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ เขายังมองว่ามะเร็งเป็นเรื่องที่ต้องกำจัด ต้องทำลาย ต้องตัด การรักษาต้องมีตัดทิ้งและให้ยาไปทำลาย แล้วยังให้การรักษาโดยใช้ฮอร์โมนและการตัดเสบียง การตัดเส้นเลือดต่างๆที่จะเข้าไปเลี้ยง ใช้ความเย็น ความร้อนเข้าไปจี้ทำลาย คือโดยวัตถุประสงค์แล้ว มันคือสิ่งแปลกปลอมแล้วพยายามทำลายมันให้หมด ถ้าทำลายไม่หมดก็หมายความว่าต้องดูแลรักษากัน ประคับประคองกันให้ดี ก็เป็นลักษณะของแผนปัจจุบัน ก็เห็นบรรยากาศค่อนข้างซีเรียส เป็นมะเร็งหัวเราะได้ไหมครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น